Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81084
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทธิกร อาภานุกูล | - |
dc.contributor.advisor | นงนภัส เจริญพานิช | - |
dc.contributor.author | รวิกานต์ สุขแท้ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2022-11-03T02:57:40Z | - |
dc.date.available | 2022-11-03T02:57:40Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81084 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการตอบสนองฉับพลันของการผสมผสานการฝึกพลัยโอเมตริกและยางยืดที่มีต่อพลัง ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ขณะทำการอบอุ่นร่างกายในนักกีฬาฟุตซอลชาย กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตซอลชายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 9 คน (อายุ=20.78±1.34 ปี, น้ำหนัก=67.59±5.15 กิโลกรัม, น้ำหนักไร้ไขมัน=56.80±2.74 กิโลกรัม, ส่วนสูง=173.22±4.52 เซนติเมตร, ความยาวขา=88.11±2.26 เซนติเมตร) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย การฝึกด้วยพลัยโอเมตริก การฝึกด้วยยางยืด การฝึกด้วยยางยืดตามด้วยการฝึกพลัยโอเมตริก และการฝึกด้วยพลัยโอเมตริกร่วมกับยางยืด โดยใช้วิธีถ่วงดุลลำดับ ทำการทดสอบ พลังสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว การทดสอบห่างกัน 1 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำและความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำโดยการจัดคอลัมน์ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยพลังสูงสุดและค่าเฉลี่ยความเร็วของบาร์เบลสูงสุด ของการกระตุ้นด้วยการฝึกทั้ง 4 รูปแบบแตกต่างกับค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่แตกต่างระหว่าง 4 รูปแบบ ส่วนค่าเฉลี่ยเวลาในการทดสอบความเร็ว และค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไวของการกระตุ้นทั้ง 4 รูปแบบ ไม่แตกต่างกับค่าเริ่มต้น สรุปผลการวิจัย การกระตุ้นด้วยการฝึกทั้ง 4 รูปแบบนั้น สามารถพัฒนาพลัง จากความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เหมาะกับการนำไปปรับใช้ระหว่างการอบอุ่นร่างกายสำหรับกีฬาที่ต้องการพลังและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพก | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate and compare acute responses of combined plyometric and elastic training on power, speed, and agility during warm-up in male futsal players. Nine futsal players (age=20.78±1.39 yrs., body mass=67.59±5.15 kg., fat free mass=56.80±2.74 kg., height=173.22±4.52 cm., leg length=88.11±2.26 cm.) volunteered for this study. Each subject performed a plyometric training (PLYO), elastic band training (BAND), elastic band followed by plyometric training (BAPL), plyometric combined with elastic band training (CBBP) using a counterbalance experimental design, the peak power, peak vertical ground reaction force, peak barbell velocity, speed, and agility were determined. Each experiment was separated by 1 week. Data were analyzed by One-way analysis of variance with repeated measures and Friedman One-way Repeated measure analysis of variance by ranks to determine the statistical significance level at p-value < 0.05. The results showed that average peak power and average peak barbell velocity were significant for each training when compared to baseline (P<0.05) but were not significant among training, the average speed and average agility were not significant for each training when compared to baseline (P>0.05). Conclusion, PLYO, BAND, BAPL, and CBBP can enhance peak power. Hence, PLYO, BAND, BAPL, and CBBP can be used for enhancing performance during warm-up. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.841 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.title | การตอบสนองฉับพลันของการผสมผสานการฝึกพลัยโอเมตริกและยางยืดที่มีต่อพลัง ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ขณะทำการอบอุ่นร่างกายในนักกีฬาฟุตซอลชาย | - |
dc.title.alternative | Acute response of combined plyometric and elastic training on power, speed, and agility during warm-up in male futsal players | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.841 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270023139.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.