Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81406
Title: | การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... |
Authors: | วรรษวีร์ สิงห์สรศรี |
Advisors: | ณัชพล จิตติรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | การเปิดเผยข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ หมายค้น |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ร่างพระราชบัญญัติข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... ได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ประกอบการหรือสถานประกอบธุรกิจของนิติบุคคลผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงอันเป็นที่รโหฐาน โดยอาศัยเหตุว่านายทะเบียนนั้นมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงที่ได้รับแจ้งมาอาจไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นปัจจุบัน การเข้าไปในสถานประกอบกิจการของผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูลดังกล่าวเป็นการเข้าไปในที่รโหฐานที่ถือเป็นการค้นอย่างหนึ่ง คือ เข้าไปในที่รโหฐานเพื่อค้นหาพยานหลักฐานของการกระทำความผิดซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น หากแต่การใช้อำนาจของนายทะเบียนในการเข้าไปในสถานที่ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ นายทะเบียนไม่จำต้องขอหมายค้นจากศาลก่อน ทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อยกเว้นที่ทำให้สามารถค้นได้โดยไม่มีหมาย อีกทั้งเหตุในการเข้าไปในสถานที่ของนายทะเบียนตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังไม่สอดคล้องกับแนวทางการบัญญัติหลักเกณฑ์ในการเข้าไปในสถานที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ ที่มีโทษอาญาและเป็นความผิดที่มีความรุนแรง โดยการเข้าไปในสถานที่ที่อาจพบพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตามกฎหมายเฉพาะเหล่านี้ บางฉบับก็กำหนดให้ต้องขอหมายค้นจากศาลก่อนหรือบางฉบับก็กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปในสถานที่ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้มีสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอยู่ในนั้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะได้หมายค้นมาจะทำให้ทรัพย์สินถูกยักย้ายไป หากแต่เหตุตามร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าได้มีการจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติหรือไม่ และยังไม่จำต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากเป็นการเนิ่นช้าจะทำให้พยานหลักฐานในที่รโหฐานนั้นถูกยักย้ายหรือทำลายไป นอกจากนั้น โดยที่การค้นในที่รโหฐานนี้เป็นการใช้อำนาจของรัฐในทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน การกำหนดมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ เมื่อยังมีมาตรการที่รุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนน้อยกว่าการเข้าไปตรวจค้นในที่รโหฐานที่สามารถนำมาใช้ในกรณีเดียวกันได้อยู่ การกำหนดให้ใช้มาตรการค้นในกรณีตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอาจไม่เป็นไปตามหลักแห่งความพอสมควรแก่เหตุในเรื่องของความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเพื่อใช้อำนาจค้นสถานที่ของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ และมาตรการอื่น ๆ ที่อาจใช้ได้ในกรณีที่ข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงมีความน่าสงสัยว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นปัจจุบัน เปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง พ.ศ. ... เพื่อเสนอแนวทางกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป |
Description: | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายการเงินและภาษีอากร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81406 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.205 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.205 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380182634.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.