Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81583
Title: | วิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอในงานเขียนประเภทสารคดี: กลวิธีทางวรรณศิลป์กับการนำเสนอแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Pgaz k’nyau’s ways of life in non – ficton writings: literary techniques and the presentation of concepts of ethnicity and environment |
Authors: | คณภูมิ รตินที |
Advisors: | ชัยรัตน์ พลมุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อมและกลวิธีทางวรรณศิลป์ในสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ จำนวน 30 เรื่อง ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่า สารคดี กลุ่มดังกล่าวนำเสนอแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอกับธรรมชาติที่นำเสนอให้เห็นวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่ผูกพันใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับมิติทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาประเด็นสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกขาดจากการเข้าใจความเชื่อและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ และแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมกับสิทธิมนุษยชนที่ได้แสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าชาวปกาเกอะญอได้รับผลกระทบจากวาทกรรมของภาครัฐที่มักนำเสนอว่ากลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวเป็นผู้ทำลายผืนป่าตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อพยพชาว ปกาเกอะญอที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ในด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ พบว่า ผู้แต่งสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอใช้กลวิธีอย่างหลากหลายเพื่อถ่ายทอดแนวคิดเรื่องชาติพันธุ์กับสิ่งแวดล้อม ประการแรก ผู้แต่งใช้ขนบการเขียนแบบชาติพันธุ์วรรณนาเพื่อนำเสนอเนื้อหาสาระผ่านข้อมูลเชิงวิชาการและข้อมูลภาคสนามจากการจดบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการเข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้ ผู้แต่งยังนำเสนอสารสำคัญผ่านการตั้งชื่อเรื่อง การใช้บทสนทนา การแทรกคำประพันธ์ การเล่าเรื่องตามลำดับ การเล่าเรื่องผ่านมุมมองของคนในและคนนอก และการปิดเรื่องแบบต่าง ๆ ประการสุดท้าย ผู้แต่งใช้กลวิธีทางภาษา ได้แก่ การใช้ภาษา ปกาเกอะญอและโวหารภาพจน์ต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดภาพและอารมณ์ความรู้สึกอันนำไปสู่ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของ ชาวปกาเกอะญอที่สัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง การศึกษาแนวคิดและกลวิธีทางวรรณศิลป์ในสารคดีเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอแสดงให้เห็นคุณค่าเชิงสังคมและวรรณศิลป์ของวรรณกรรมกลุ่มดังกล่าวในด้านการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยชี้ให้เห็นว่าการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืนมีพื้นฐานมาจากการที่มนุษย์กับธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันแบบต่างพึ่งพาอาศัย นอกจากนี้ สารคดีกลุ่มดังกล่าวยังมีส่วนช่วยลดอคติทางชาติพันธุ์ โดยนำเสนอให้เห็นความคิดเชิงนิเวศของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอเพื่อโต้กลับภาพ เหมารวมของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวในวาทกรรมของรัฐและสื่อกระแสหลัก |
Other Abstract: | This thesis aims to study the concepts of ethnicity and environment and literary techniques in 30 non-fiction writings about Pgaz K'nyau ethnic groups published between 1986 – 2016. It is found that these writings convey three significant concepts concerning ethnicity and environment in three significant ways, namely, the relationship between the Pgaz K'nyau ethnic groups and nature that demonstrates an intimate connection between Pgaz K'nyau’s ways of life and natural environment; the cultural aspect of environmental conservation that reveals the importance of taking into account beliefs and practices of the ethnic groups; and the notion of human rights and environment that illustrates how Pgaz K'nyau people have been affected by state discourse on the ethnic groups as forest destroyers and by the violation of human rights against Pgaz K'nyau immigrants who seek refuge in Thailand due to political unrest. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81583 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.707 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.707 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180108022.pdf | 2.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.