Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82084
Title: ผลของระยะเวลาในการใช้กรดกัดต่อค่ากำลังยึดดึงบนเนื้อฟันที่เกิดการเปลี่ยนสีจากวัสดุอะมัลกัม
Other Titles: Effect of Etching Time on Microtensile Bond Strength to Amalgam-Discolored Dentin
Authors: ณัฐพจี นรเศรษฐ์ตระกูล
วาริณี ศรีมหาโชต
สรนันทร์ จันทรางศุ
ทวีศักดิ์ ประสานสุทธิพร
อรณิชา ธนัทวรากรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: สารยึดติดทางทันตกรรม
ทันตกรรม
ทันตวัสดุ
Issue Date: Jan-2566
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Citation: วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 26,1 (ม.ค.-เม.ย. 2566) หน้า 1-9
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของระยะเวลาในการใช้กรดกัดต่อประสิทธิภาพการยึดติดของสารยึดติดทางทันตกรรมบนเนื้อฟันที่เกิดการเปลี่ยนสีจากวัสดุอะมัลกัม โดยเตรียมกลุ่มตัวอย่างจากฟันกรามมนุษย์ที่ไม่มีการบูรณะ (กลุ่มเนื้อฟันปกติ) และฟันกรามที่มีการบูรณะด้วยอะมัลกัม (กลุ่มเนื้อฟันเปลี่ยนสี) ที่ผ่านการถอนจากเหตุจำเป็นกลุ่มละ 20 ซี่ หลังจากนำวัสดุอะมัลกัมออกจากฟันที่ใช้ทดลองแล้ว นำฟันทั้งสองกลุ่มมาเตรียมให้ได้เนื้อฟันด้านบดเคี้ยวผิวเรียบ โดยในฟันแต่ละซี่จะแบ่งเป็นสองส่วนเพื่อใช้ทากรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37.5 เป็นเวลา 15 วินาที และ 60 วินาที ตามด้วยการใช้สารยึดติดระบบเอทช์แอนด์รินส์ชนิด 3 ขั้นตอน และบูรณะด้านบนด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต เพื่อทดสอบหาค่ากำลังยึดดึงระดับจุลภาคและตรวจสอบรูปแบบความล้มเหลวด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณชนิดทูคีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่าเมื่อใช้กรดกัดเนื้อฟันเป็นเวลา 15 วินาที เนื้อฟันเปลี่ยนสีจะมีกำลังแรงยึดดึงระดับจุลภาคต่ำกว่าเนื้อฟันปกติอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อเพิ่มเวลาการใช้กรดกัดเนื้อฟันเปลี่ยนสีเป็น 60 วินาที จะทำให้มีกำลังยึดดึงระดับจุลภาคสูงกว่าเนื้อฟันเปลี่ยนสีที่ใช้กรดกัดเป็นเวลา 15 วินาทีอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การเพิ่มเวลาการใช้กรดกัดเป็น 60 วินาที สามารถเพิ่มค่ากำลังยึดดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดทางทันตกรรมระบบเอทช์แอนด์รินส์บนเนื้อฟันที่เกิดการเปลี่ยนสีจากอะมัลกัมได้อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The aim of this study was to examine the effect of etching time on microtensile bond strength (µTBS) to amalgam-discolored dentin. Twenty extracted restoration-free human molars (normal dentin group) and twenty extracted amalgam-filled human molars (discolored dentin group) were prepared. After removal of amalgam in discolored dentin group, the teeth in both groups were cut horizontally to expose flat mid-dentin surfaces. Each specimen was sectioned into 2 subgroups according to 37% phosphoric acid etching time of 15 and 60 s. Subsequently, the specimens were bonded with 3-step etch and rinse adhesive (OptiBond™ FL, Kerr, CA, USA) and restored with resin composite. The bonded specimens were subjected to microtensile bond strength (µTBS) test. Data were statistically analyzed by two-way ANOVA and Tukey’s test at significance level of 95%. The fractured surfaces of all specimens were examined using stereomicroscope. The results exhibited that µTBS of 15-s etching time on amalgam-discolored dentin group was significantly lower than normal dentin group. Increasing etching time to 60 s on amalgam-discolored dentin could significantly increase µTBS (p<0.05). From the result of this study, prolonged etching time to 60 s could improve µTBS of amalgam-discolored dentin with etch-and-rinse dental adhesive system.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82084
URI: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KDJ/article/view/253282
ISSN: 2730-1699
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Download_Articles .htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.78 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.