Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82091
Title: | หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องความปลอดภัยในชีวิตของครูสุขศึกษา |
Other Titles: | Training curriculum to enhance instructional design ability on life safety of health education teachers |
Authors: | ชญาภัสร์ สมกระโทก จินตนา สรายุทธพิทักษ์ สริญญา รอดพิพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | สุขศึกษา ครูสุขศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ |
Issue Date: | May-2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ |
Citation: | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 14,2 (พ.ค. - ส.ค. 2566) หน้า 171 - 188 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในชีวิตของครูสุขศึกษา โดยมีการด าเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาเอกสาร และงานวิจัยเกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในชีวิต เพื่อสังเคราะห์แนวคิดที่ใช้ในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมโดยน าเอาผลการศึกษาความต้องการจ าเป็นของครูสุขศึกษาร่วมกับการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม โดยน าหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจ านวน 5 ท่านตรวจพิจารณาคุณภาพของหลักสูตร 2 ด้าน ได้แก่ 1) ตรวจประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร 2) ตรวจประเมินความสอดคล้องของหลักสูตร โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมมีดังนี้ 1.หลักการและเหตุผลของหลักสูตรฝึกอบรม 2.จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม 3.โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม 4.กิจกรรมการฝึกอบรม 5.สื่อและแหล่งการเรียนรู้ประกอบการฝึกอบรม 6.ระยะเวลาฝึกอบรม 7.การวัดและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม และ8. แผนการจัดการฝึกอบรม จ านวน 6 หน่วย ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การก าหนดจุดประสงการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม 3) การคัดเลือกและก าหนดสาระการเรียนรู้ 4) การก าหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 5) การพัฒนาหรือเลือกใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 6) การออกแบบการวัดและประเมินผล และแต่ละหน่วย ประกอบด้วย (1) สาระส าคัญ (2) วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ (3) สาระการเรียนรู้ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ(6) วิธีการวัดและประเมินผล โดยใช้ระระเวลาในการฝึกอบรม 3 วัน โดยผลการตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.28 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก และมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตรมีค่าเท่ากับ 1 |
Other Abstract: | This research aimed to develop a training curriculum to enhance instructional design ability on life safety of health education teachers. The study was divided into 3 stages. The first stage review of the research literature on enhancing instructional design ability on life safety of health education teachers in order to synthesize the concepts used to construct the training curriculum. The second stage was to construct the training curriculum by applying the results from need survey of the health education teachers together with the applying competency based instruction with professional learning community concepts. The third stage was to examine the quality of the training curriculum which was evaluated by 5 experts. The evaluation consisted of 2 aspects which were 1) Evaluate the curriculum suitability using the curriculum suitability assessment form 2) Assess the consistency of the curriculum using a questionnaire with a scale for estimating 5 levels. The results demonstrated that the elements of the training curriculum consisted of 1. Principles and rationale of the training curriculum. 2. Objectives of the Training curriculum 3. Content structure of the training curriculum 4. Training activities 5. Media and learning resources for the training course 6.Training period 7. Assessment and Evaluation of the training curriculum and 8. Lesson plans of the training curriculum comprised of 6 units which were 1) Analysis of learners 2) Determination of behavioral learning objectives 3) Course description 4) Learning management process 5) learning materials and resources and 6) assessment and evaluation. Each unit consisted of (1) contents (2) learning objectives (3) course description (4) learning management process (5) learning materials and resources and (6) assessment and evaluation methods. The training period was 3 days. The result of the quality assessment of the developed training curriculum had a total mean of 4.28. Thus, it can be interpreted that the course was appropriate and the curriculum consistency index value of 1. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82091 |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/250600 |
ISSN: | 2697 5793 |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Thai Journal Article |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
html_submission_85065.html | บทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.79 kB | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.