Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82100
Title: แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
Authors: ขวัญชนก ศรีภมร
Advisors: ณัชพล จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: การป้องกันอาชญากรรม
โทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากสภาพสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการอาศัยเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสารที่มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยมีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายจนทำให้เกิดช่องว่างในการหลอกลวงต่างๆมากมายทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้กลับมาระบาดในสังคมไทยเป็นวงกว้างและสร้างความสูญเสียมหาศาลอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่เจอปัญหากับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน จากการค้นคว้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผู้วิจัยพบว่าในประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามโดยการกำหนดความผิดทางอาญาและการใช้นโยบายทางอาญาของรัฐซึ่งยังไม่รวมถึงมาตรการการป้องกันอาชญากรรมโดยความร่วมมือของเอกชนประกอบกับบริบทต่างๆที่ทำให้การบังคับกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่สามารถจับกุมและกวาดล้างได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้มักมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งและรูปแบบการหลอกลวงมีวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ยากต่อการสืบสาวต้นตอและบทกฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามทางผู้วิจัยมองว่าเป็นการแก้ปัญหาทางปลายเหตุ เนื่องจากบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมักเป็นบทกฎหมายทางอาญา การที่จะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้จะต้องเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเท่านั้นประกอบกับการลงโทษผู้กระทำผิดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเนื่องจากเป็นการลงโทษทางอาญา การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษแทบจะไม่ได้มีผลอะไรที่ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดน้อยลง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำกับดูแลก่อนที่จะเกิดเหตุเสียมากกว่า เพราะการหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่ต้นจะสามารถช่วยลดความเสียหายได้ไม่มากก็น้อยและเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชน (Public Awareness Raising) ในการระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน ปัญหาการจับกุมและการบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามดังกล่าวก็เป็นปัญหาหลักของต่างประเทศเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นในเมื่อขั้นตอนในการจับกุมหรือปราบปรามเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าถ้าทำปลายทางไม่ได้ก็ควรหันมาหาวิธีการป้องกันต้นทางตั้งแต่แรกก่อนเกิดเหตุการณ์จะดีกว่าและจากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่า ในต่างประเทศมักจะเน้นการบังคับใช้แผนปฏิบัติการเชิงรุกและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้การป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่าการเน้นการปราบปรามและวิธีที่จะช่วยการป้องกันได้ดีคือการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นตัวดักจับความผิดปกติของหมายเลขโทรศัพท์นั่นเองเนื่องจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่มีคนใช้งานโดยใช้เทคโนโลยีในการแปลงหมายเลขและแอบอ้างเป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือหมายเลขโทรศัพท์ผิดกฎหมายที่โทรมาจากต่างประเทศ ดังนั้นถ้าในส่วนของต้นทางคือกิจการโทรคมนาคมสามารถทำการตรวจสอบหรือตรวจพบตั้งแต่แรกจะทำให้ประชาชนเกิดความสูญเสียลดน้อยลง ซึ่งจากการที่ต่างประเทศหันมาสนใจการป้องกันมากกว่าปราบปรามพบว่าสถิติการสูญเสียของประชาชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82100
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.133
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.133
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480192034.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.