Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82117
Title: | แนวทางการกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ในสถานที่อับอากาศ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังและบ่อ |
Authors: | ณฐพล อุลิตร |
Advisors: | ศารทูล สันติวาสะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม อาชีวอนามัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุตสาหกรรมเคมีและการล้างถังนั้นมีความสำคัญอย่างมากในโลกปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยราคาที่ไม่แพงเช่นบรรจุภัณฑ์สินค้า อุปโภค บริโภคที่ทำมาพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้มากจากกระบวนการผลิตที่ทำมาจากน้ำมัน โดยถังบรรจุเคมีนั้นจะต้องมีการทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ โดยการทำความสะอาดนั้นส่วนมากจะเป็นการส่งแรงงานลงไปเพื่อปฏิบัติการล้างถัง โดยในประเทศไทยนั้นยังมีรายงานเรื่องอุบัติเหตุในที่อับอากาศอยู่เป็นประจำ อิงจากข้อมูลสถิติตั้งแต่ปี 2546 จนถึง 2561 นั้น ประเทศไทยมีรายงานผู้ประสพอันตรายเกี่ยวกับที่อับอากาศจำนวน 210 ราย จึงเกิดเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาว่า พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 และ กฎกระทรวง การจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 ที่ออกมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่แรงงานในที่อับอากาศนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ การวิจัยเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหลักกฎหมายเรื่องการควบคุม ดูแล และป้องกันอันตรายต่อแรงงานจากการปฏิบัติงานในที่อับอากาศในประเทศอเมริกาและประเทศออสเตรเลียเพื่อวิเคราะห์และหาข้อแนะนำเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยตามอิริยาบทที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไปจนผิดหลักความไม่ได้สัดส่วน จากการศึกษาค้นขว้าวิจัยจึงพบว่ากฎหมายเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในที่อับอากาศของประเทศไทยนั้นเป็นหลักการที่เขียนไว้อย่างกว้างและไม่มีความละเอียดมากพอจนเป็นต้นเหตุให้ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีบทลงโทษแล้ว แต่ก็ไม่สามารถนำเอาผู้กระทำความผิดที่ละเลยการปฏิบัติตามหลักข้อบังคับที่มีมาลงโทษได้เพียงเพราะกฎหมายนั้นมีความกว้างเกินไป เมื่อนำมาเทียบกับประเทศไทยแล้วนั้น มีหลายหลักที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้เช่น หลักการแยกและปิดกั้นพลังงานหรือสารเคมีในที่อับอากาศที่มีการระบุอย่างชัดเจนในสองประเทศว่าจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ Lock Out Tag Out ในข้อกฎหมาย หรือหลักเฉพาะในประเทศอเมริกาเช่นแรงงานจะต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสารเคมีอันตรายที่จะพบในที่อับอากาศนั้น ๆ และหลักอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารที่นายจ้างจะต้องเตรียม ส่วนหลักพิเศษในประเทศออสเตรเลียที่คือหลักความรับผิดชอบของผู้ผลิตถังอับอากาศและหลักความรับผิดชอบของผู้คุมงานที่จะต้องดูแลแค่กิจกรรมในที่อับอากาศเดียวเท่านั้น หากมีการแก้ไขกฎกระทรวงและหลักในพระราชบัญญัติตามนี้ ประเทศไทยก็จะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศได้อย่างน้อย 50,000 รายและลดการเสียชีวิตอย่างน้อย 120 คนต่อปีหากอิงจากสถิติของประเทศอเมริกา เพื่อนำพาประเทศไทยสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมในระดับโลกและลดภาระให้แก่ภาครัฐในระยะยาว |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82117 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.144 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.144 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480207834.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.