Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82180
Title: การตรวจพบอีลีทคอนโทรลเลอร์ปลอมของเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคโลหิตไทย
Other Titles: Detection of HIV false elite controller in Thai blood donors
Authors: อภิสิทธิ์ ทองไทยสิน
ดวงนภา อินทรสงเคราะห์
ปกรัฐ หังสสูต
เจตวรรณ ศิริอักษร
ภาวิณี คุปตวินทุ
ศศิธร เพชรจันทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: สารต้านไวรัส
การรักษาด้วยยา
สารต้านการติดเชื้อ
(เอชไอวี (ไวรัส))
Issue Date: Apr-2565
Publisher: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Citation: วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 32,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2565) หน้า 99-109
Abstract: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตรวจคัดกรองตัวอย่างโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตทุกคน ด้วยทั้งวิธีน้ำเหลืองวิทยา และการตรวจหาสารพันธุกรรม ผู้บริจาคโลหิตที่อาจเป็นอีลีทคอนโทรลเลอร์ คือผู้บริจาคที่ผลตรวจน้ำเหลืองวิทยาให้ผลบวกซ้ำ แต่การตรวจหาสารพันธุกรรมให้ผลลบ และยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทยถึงสาเหตุของกลุ่มนี้ว่ามาจากพันธุกรรม (อีลีทคอนโทรลเลอร์จริง) หรือการใช้ยาต้านไวรัส (อีลีทคอนโทรลเลอร์ปลอม) วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของอีลีทคอนโทรลเลอร์ปลอมในผู้บริจาคโลหิตชาวไทยที่ผลการตรวจด้วยวิธีน้ำเหลืองวิทยาให้ผลบวก แต่การตรวจหาสารพันธุกรรมให้ผลลบ วัสดุและวิธีการ ตัวอย่างพลาสมาแช่แข็งจากผู้บริจาคโลหิต จำนวน 70 ราย ที่อาจเป็นอีลีทคอนโทรลเลอร์ที่เก็บระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 นำไปตรวจหายากลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) ตัวอย่างที่ให้ผลบวกได้รับการตรวจหายากลุ่ม non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) และ protease inhibitors (PIs) เพิ่มเติม นอกจากนี้ทุกตัวอย่างจะได้รับการตรวจเพิ่มด้วย Geenius HIV-1/2 confirmatory assay ด้วย ผลการศึกษา พบว่ามี 1 ตัวอย่าง (1.43%) ที่ให้ผลบวกกับกลุ่มยา NRTIs (tenofovir และ emtricitabine) จากผู้บริจาคโลหิตที่อาจเป็นอีลีทคอนโทรลเลอร์ 70 คน ซึ่งเท่ากับ 0.02% ของผู้บริจาคโลหิตทั้งหมดในช่วงเวลานั้น ตรวจพบยา efavirenz จากการตรวจเพิ่มเติมกับกลุ่มยา NNRTIs และให้ผลบวกกับ HIV-1 ด้วย การตรวจ Geenius HIV-1/2 confirmatory assay ตัวอย่างอีก 69 ตัวอย่างที่ให้ผลลบกับยา NRTIs มี 1 ตัวอย่าง (1.45%) ให้ผลบวกกับ HIV-1 อีก 2 ตัวอย่าง (2.90%) ให้ผลสรุปไม่ได้กับ HIV-2 และ 1 ตัวอย่าง (1.45%) ให้ผลสรุปไม่ได้กับ HIV-1 จากการตรวจยืนยันด้วย Geenius HIV-1/2 confirmatory assay สรุป ความชุกของอีลีทคอนโทรลเลอร์ปลอมในผู้บริจาคโลหิตชาวไทยที่ผลการตรวจด้วยวิธีน้ำเหลืองวิทยาให้ผลบวก แต่การตรวจหาสารพันธุกรรมให้ผลลบ คือ 1.43% และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมทางพันธุกรรมในผู้ติดเชื้อ HIV เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
Other Abstract: National Blood Centre, Thai Red Cross Society screens blood samples from every donor for HIV with both serological test and nucleic acid testing (NAT). Potential elite controllers (EC) are donors who tested repeatedly reactive by serology, but non-reactive by NAT. There is no study in Thailand to date to find the cause of this group’s test results whether they are due to genetics (true EC) or antiretroviral therapy (ART) drugs (false EC). Objective: To assess the prevalence of HIV false EC in Thai blood donors who tested reactive by serology, but non-reactive by NAT. Materials and Methods: Seventy stored frozen plasma samples from potential EC collected during July to December 2021 were tested for nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs). Positive samples were further tested for non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) and protease inhibitors (PIs). In addition, Geenius HIV-1/2 confirmatory assay was also performed for all samples. Results: Of 70 potential ECs from total of 315,170 donors (0.02%) during that period, there was one sample (1.43%) that tested positive for NRTIs (tenofovir and emtricitabine). Efavirenz was also found on further testing for NNRTIs. Geenius HIV-1/2 confirmatory assay was positive for HIV-1. Of 69 potential ECs negative for NRTIs, there was 1 sample (1.45%) tested positive for HIV-1, 2 samples (2.90%) tested indeterminate for HIV-2 and 1 sample (1.45%) that tested indeterminate for HIV-1 by Geenius HIV-1/2 confirmatory assay. Conclusion: The prevalence of false EC due to NRTIs treatment was only 1.43% in HIV serology reactive Thai blood donors and should be further study for the human genetics that may be involved with this group.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82180
URI: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHematolTransfusMed/article/view/255108
ISSN: 0858-2025
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85056.html.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.86 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.