Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82332
Title: การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Other Titles: Graphic design to communicate identities for cultural ecology in handicrafts to promote cultural tourism
Authors: ปราง ศิลปกิจ
Advisors: ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์
ปวินท์ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยการออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม 2.) เพื่อหาแนวทางการนำอัตลักษณ์รูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมมาใช้ในงานออกแบบเรขศิลป์ และ 3.) เพื่อสร้างสรรค์ต้นแบบการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์นิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่ศึกษา นิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม(Mixed Methods Research) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับการออกแบบทางศิลปกรรม โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวัฒนธรรมงานหัตถกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญางานหัตถกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์และเรขศิลป์เคลื่อนไหว และการประเมินความพึงพอใจของต้นแบบผ่านแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มเป้าหมายทางการออกแบบ ในด้านการออกแบบเรขศิลป์พบว่า การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการนำอัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมทั้งในด้านอัตลักษณ์และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อสารผ่านงานออกแบบเรขศิลป์นั้นยังขาดรูปแบบมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการนำอัตลักษณ์งานหัตถกรรมมาใช้ ทำให้รูปแบบงานออกแบบเรขศิลป์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน มีการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา และไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวได้ จึงนำมาสู่คำถามงานวิจัยคือแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์สำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรม จากอัตลักษณ์และรูปแบบการเคลื่อนไหวภายใต้กระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมสำหรับนิเวศวัฒนธรรมด้านงานหัตถกรรมควรเป็นอย่างไร ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าอัตลักษณ์งานหัตถกรรมแต่ละประเภทสามารถสื่อสารผ่านองค์ประกอบทางการออกแบบเรขศิลป์ และสามารถนำผลคำตอบมาประยุกต์ใช้ในงานออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างสรรค์สื่อด้านการออกแบบสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ โดยหากนำอัตลักษณ์เด่นของแต่ละพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมตามองค์ประกอบทางการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Placemaking) คือ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเรื่องราวของชุมชน จะทำให้การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสื่อสารอัตลักษณ์งานหัตถกรรมสามารถสร้างความแตกต่างและนำเสนออัตลักษณ์ของพื้นที่นิเวศวัฒนธรรมเฉพาะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Research objectives are 1.) To discover rules for graphic design for conveying the cultural ecology of handcraft. 2.) Looks for methods to incorporate the handicraft's motion features into graphic design and 3.) Aims to develop a prototype for graphic design that promotes cultural tourism in Chiang Mai province. This study focuses on the cultural ecology of handicraft in Chiang Mai province by using a mixed-methods research approach that combines qualitative and quantitative research. Data is collected through in-depth semi-structured interviews with experts in the cultural ecology of handicrafts, traditional craftsmanship specialists, and graphic design experts, and prototype satisfaction is assessed through online questionnaires administered to the target group. It has been discovered in the term of graphic and communication design that the study of knowledge and rules for combining the characteristics of handicrafts, both in terms of identity and creative processes, lacks established models and standards. As a result, the graphic design patterns for the cultural ecology of handicrafts lack uniqueness, direct communication, and fail to attract the interest of tourists. Therefore, the research question raised is how to design to effectively communicate the identity for cultural ecology of handicraft. Based on the analysis of the characteristics and movements within the creative process of handicrafts, this study reveals that each type of handicraft can effectively convey its identity through the elements of graphic design. The findings can be applied to the graphic design to enhance cultural tourism. Moreover, by incorporating the distinctive identities of each cultural environment, characterized by cultural resources, creativity, and community storytelling, into the process of creative placemaking, the graphic design can significantly contribute to the creation of a distinct cultural ecology.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82332
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.915
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.915
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281020035.pdf16.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.