Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82437
Title: การศึกษาผลของวัสดุบูรณะที่ปลดปล่อยแร่ธาตุต่อการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้น ของฟันกรามน้ำนมซี่ข้างเคียงในห้องปฏิบัติการ
Other Titles: In vitro effect of an ion-releasing material on remineralizing adjacent initial interproximal caries in primary molars
Authors: ดนุธิดา สาเขตร์
Advisors: ปริม อวยชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่สัมผัสกับวัสดุบูรณะคลาสทูด้วยนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟต (Predicta™ bioactive bulk) กับซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ (Equia Forte®) และเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ (Filtek™ Z350) เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้ชิ้นฟันน้ำนมจำนวน 60 ชิ้นจากด้านแก้มของฟันกรามน้ำนมที่ถูกถอน 60 ซี่มาสร้างรอยผุระยะเริ่มต้นที่กึ่งกลางของชิ้นฟัน นำชิ้นฟันตัวอย่างมาวัดร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆F) เริ่มต้นด้วยเครื่องวัดฟลูออเรสเซนต์ที่เกิดจากแสงเชิงปริมาณชนิดดิจิทัล เรียงลำดับร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้นจากชิ้นฟันที่สูญเสียแร่ธาตุน้อยไปมาก สุ่มชิ้นฟันออกเป็น 3 กลุ่ม นำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่บูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะทั้ง 3 ชนิด แล้วเข้ากระบวนการเลียนแบบสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณการคืนแร่ธาตุโดยวัสดุบูรณะแต่ละชนิด ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงร้อยละของการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆F) และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆Q) ผลการศึกษาพบว่าทั้งค่า ∆∆F และค่า ∆∆Q ของทุกกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ มีการคืนแร่ธาตุแก่ชิ้นฟันสูงที่สุด ส่วนกลุ่มนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตมีการสูญเสียแร่ธาตุของชิ้นฟันเล็กน้อย ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม คือเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการบูรณะด้วยวัสดุซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ สามารถคืนแร่ธาตุให้ฟันซี่ข้างเคียงได้ดีที่สุด แต่ในกรณีที่รอยผุหรือโพรงฟันคลาสทูมีขนาดใหญ่ นาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตก็ถือเป็นวัสดุหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการใช้ทดแทนเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ เนื่องจากใช้งานง่าย มีความแข็งแรงและความสวยงามเทียบเท่ากับเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการลุกลามของรอยผุระยะเริ่มต้นในฟันซี่ข้างเคียงได้ดีกว่าเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์
Other Abstract: The objective of this study was compare the ability to remineralizing adjacent initial interproximal caries of the new calcium phosphate nanocomposite (Predicta™ bioactive bulk) with glass-ionomer cements (Equia Forte®) and composite resin (Filtek™ Z350), in vitro. 60 human enamel specimens from buccal aspect of 60 extracted primary molar teeth were formed the artificial incipient caries in the center of enamel specimen. The baseline mineral loss of artificial caries was determined by percent loss of fluorescence when compared to unaffected enamel (∆F) using quantitative light-induced fluorescence-digital (QLF-D). The specimens were sorted from least to greatest ∆F and randomly assigned to 3 groups of restorative materials. Specimens were put in contact with proximal restorative materials in acrylic blocks and then submitted to 14 days of pH-cycling. The remineralization effects was analysis by QLF-D when completed the pH-cycling, mean difference in ∆F (∆∆F) and ∆Q (∆∆Q) were calculated. The results showed that both the ∆∆F and ∆∆Q values ​​of all groups were statistically different. The specimens that contact with glass-ionomer cement yielded a remineralizing effect, while the other groups were not. However, the mineral loss of the specimens in composite resin group had significantly higher than in the calcium phosphate nanocomposite group that mean calcium phosphate nanocomposite can reduce specimen demineralization. In conclusion, glass-ionomer cement is the most effective material for remineralizing adjacent teeth. However, in case of large Class II cavities, calcium phosphate nanocomposite is considered a good alternative material compared to composite resin, because of high compressive and flexural strength, esthetics, and easy usage. In addition, it can inhibit the progression of early caries in adjacent teeth.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82437
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.627
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.627
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270007232.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.