Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82512
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชต์ธร ปัญจประทีป-
dc.contributor.authorณัฐวรรณ ตันกิตติวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:08:14Z-
dc.date.available2023-08-04T06:08:14Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82512-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและความปลอดภัยของยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน กับยาทา5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง ในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง นาน 24 สัปดาห์ และทดสอบความไม่ด้อยกว่าของผลยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งอ้างอิงกลางกระหม่อมศีรษะ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ในผู้ป่วยโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีอายุ 18-65 ปี จำนวน 44 ราย ซึ่งจะได้การรักษาเป็นยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัม หรือ ยาทา 5%ไมนอกซิดิล นาน 24 สัปดาห์ โดยประเมินผลการรักษาจากการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ (ค่าด้อยกว่าที่ยอมรับได้ไม่เกิน 5 เส้น/ตร.ซม), การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมด และผลข้างเคียงของการรักษาประเมินจากประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา: หลังได้รับการรักษา 24 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่และความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานและยาทาไมนอกซิดิล โดยกลุ่มยารับประทานทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 10.25% (P<0.001) และ ความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 11.66% (P<0.001) ขณะที่ยาทาไมนอกซิดิลทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้น 8.86% (P<0.001) และ11.07% (P<0.001) ตามลำดับ และพบว่ายาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ ค่าแตกต่างเฉลี่ยคือ 0.82 เส้นต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 95%CI เป็น (-4.57,6.21) เส้นต่อตารางเซนติเมตร สำหรับผลข้างเคียงที่พบในทั้ง 2 กลุ่มเป็นผลข้างเคียงที่มีระดับความรุนแรงน้อย และพบการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตเฉลี่ยในทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบหลังได้รับการรักษา 4 และ 12 สัปดาห์ และพบว่าเมื่อใช้ยาอย่างต่อเนื่องค่าความดันโลหิตเฉลี่ยจะกลับมาสู่ค่าใกล้เคียงเริ่มต้นที่ 24 สัปดาห์ ผลของอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยพบการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่มของยาทา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางด้านคลินิก สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่พบการรายงานที่ผิดปกติ สรุปผล: ทั้งยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน และยาทา 5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง หลังได้รับการรักษานาน 24 สัปดาห์ และยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่-
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare the efficacy and safety of oral minoxidil 1.25 mg daily and 5% topical minoxidil solution twice daily in the treatment of FPHL for 24 weeks with the hypothesis that oral minoxidil is non-inferior to 5% topical minoxidil solution in increasing terminal hair density in targeted vertex area. Method: This was a 24-week, randomized, non-inferiority study. Forty-four women aged 18–65-year-old with FPHL were treated with oral minoxidil 1.25 mg or 5% topical minoxidil solution for 24 weeks. Efficacy was evaluated by a mean difference of terminal hair density (non-inferiority margin 5 hairs/cm2), a mean difference of total hair density. The safety was monitored by history taking, physical examinations and laboratory investigations. Results: After 24 weeks of treatment, terminal hair density and total hair count statistically significant increased from baseline in both groups. Oral minoxidil showed 10.25% increase in terminal hair density (p<0.001) and 11.66% increase in total hair density (p<0.001). Meanwhile, topical minoxidil showed 8.86% increase in terminal hair density (p<0.001) and 11.07% increase in total hair density (p<0.001). Moreover, oral minoxidil was non-inferior to topical minoxidil in increasing terminal hair density in targeted vertex area. (The mean difference +0.82, 95%CI (-4.57, 6.21) hairs/cm2)). All reported adverse events were graded as mild severity. The mean blood pressure was temporarily decreased from baseline after 4 and 12 weeks of treatment in both groups, then it returned close to baseline at 24-week follow up. No serious cardiovascular adverse events and abnormal laboratory findings were observed in both groups. Conclusion: Both oral and topical minoxidil are effective and safe for the treatment of mild to moderate-severity female pattern hair loss for 24 weeks. Oral minoxidil is non-inferior to topical minoxidil in increasing terminal hair density in targeted vertex area.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1023-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ของ ยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับ ยาทา5%ไมนอกซิดิลในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง-
dc.title.alternativeA randomized, non-inferiority trial of oral minoxidil 1.25 mgversus 5% topical minoxidil solutionin the treatment of female pattern hair loss -
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.1023-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370119430.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.