Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82519
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุทธชัย ลิขิตเจริญ-
dc.contributor.advisorกัมมันต์ พันธุมจินดา-
dc.contributor.authorกิตติธัช บุญเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:08:18Z-
dc.date.available2023-08-04T06:08:18Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82519-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (P=0.010) 2. พูดโกหก โดยมีลักษณะเป็นการเอาความจำจากเหตุการณ์หนึ่งมาปะปนกับอีกเหตุการณ์หนึ่ง (P=0.007) 3. พูดวกวนไปมา หรือ ตอบไม่ตรงคำถาม (P=0.032) 4. ตอบคำถามเป็นเชิงปฏิเสธโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาข้อคำถามให้รอบคอบ (P=0.024) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (P=0.010) สรุป: อาการความจำถดถอยหลากหลายอาการ มีความสัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์วินิจฉัยจากการตรวจเพท ในอาสาสมัครระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย-
dc.description.abstractalternativeObjective: To evaluate the association between early memory decline symptoms and brain Amyloid and Tau accumulation detected by PET for Alzheimer’s disease (AD) diagnosis in amnestic mild cognitive impairment (MCI) and mild dementia Method: In this cross-sectional comparative study, participants with amnestic MCI and mild dementia was consecutively recruited from memory clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Informant based questionnaire was used to collect early AD memory decline symptoms. 7 questions on changes in memory during the past 10 years and 6 questions on the average daily frequency of memory symptoms in the previous month. Amyloid and Tau Position Emission Tomography (PET) were then performed after completion of the questionnaire. The result with A+T+ was defined as AD. The correlation between each symptoms and AD were analyzed. Results: Among 50 participants enrolled. (Median [Interquartile range] age 72 [65-77] years), 24 (48%) had AD. Consistently worse in memory symptoms during the past 10 years were correlated with AD in 6 symptoms including; 1. Recalling conversation in the past few years (p = 0.001), 2. Remembering events in the past few years (p = 0.005), 3. Remembering important events in the past month (p = 0.026), 4. Repetitive telling old story (p = 0.049), 5. Repetitive questioning (p = 0.002) and 6. Forgetting to turn things off (p = 0.049). At least 1 daily memory symptoms in the previous months were correlated with AD in 5 symptoms including; 1. Repetitive telling old story (P = 0.010), 2. Momentary confabulation (P = 0.007), 3. Circumlocution or tangential speech (P = 0.032), 4. Refuse or denial speech (P = 0.024) and 5. Repetitive questioning (P = 0.010). Conclusion: Early memory decline symptoms were correlated well with AD pathology in participants with amnestic mild cognitive impairment (MCI) and mild dementia.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1018-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์-
dc.title.alternativeThe association between early symptoms with brain amyloid and tau accumulation detected by Positron Emission Tomography (PET) in amnestic mild cognitive impairment or mild dementia due to alzheimer’s disease-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.1018-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470006230.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.