Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยภัทร ชุณหรัศมิ์-
dc.contributor.authorชยุต มฤคทัต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:08:20Z-
dc.date.available2023-08-04T06:08:20Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82523-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ  และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์     วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย  ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์-
dc.description.abstractalternativeObjective : To evaluate the diagnostic accuracy of ASR tools in detecting spastic dysarthria using pathophysiologically-informed sentences and comparing the results to those obtained by neurologists through calculating sensitivity, specificity, accuracy, and generating ROC curves with AUC. Methods : 37 dysarthric patients and 37 healthy controls, were enrolled in four sentence recordings, generated based on group of muscles activated to produce consonant sounds. Recordings were ‘scored’ by two ASR software, 'Apple Siri™' and 'Whisper'. The scoring was error count of incorrect syllables and was analyzed using logistic regression with ROC/AUC representing diagnostic performance. Neurologists' diagnostic accuracy was compared with ASR result. Results :  Mean errors generated by both ASR tools were shown to be statistically significant difference with p < 0.05. Maximum AUC of 'Apple Siri™' and 'Whisper' ASR was 0.95 and 0.89 respectively for the sentence articulated with velopharyngeal and glottis placement. Neurologists showed a specificity exceeding 0.90 and sensitivity varying from 0.20 to 0.74. Conclusion : 'Apple Siri™' and 'Whisper' ASR were found to be effective and reliable in differentiating mild spastic dysarthria from control. Feature selection, based on pathophysiological and phonological basis, strengthens sentence-specific dysarthria detection.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1020-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.subject.classificationProfessional, scientific and technical activities-
dc.subject.classificationMedical diagnostic and treatment technology-
dc.titleการแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์-
dc.title.alternativeThe identification of spastic dysarthria in neurological patients by speech analysis with computational modelling-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.1020-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470015930.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.