Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82543
Title: การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
Other Titles: Immunogenicity in previously vaccinated adults after COVID 19 infection
Authors: วราลี เติบศิริ
Advisors: เลลานี ไพฑูรย์พงษ์
กำพล สุวรรณพิมลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AZD1222 ภายหลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ โดยใช้อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อคือเป็นผู้ที่ติดเชื้อไวรัสหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และกลุ่มเข็มกระตุ้นคือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน AZD1222 หลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และวัดระดับภูมิคุ้มกันเป็น surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อ wild-type และ Omicron variant (BA.1) ที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อหรือหลังได้วัคซีนเข็มกระตุ้น อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อ 25 ราย และกลุ่มเข็มกระตุ้น 25 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน คือ 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) ในกลุ่มติดเชื้อและ 97.60% (IQR 94.6%-98%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.21) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ที่ 6 เดือน คือ 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) ในกลุ่มติดเชื้อสูงกว่า 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.04) โดยสรุป ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac สองครั้งและมีประวัติการติดเชื้อมีระดับใกล้เคียงและไม่ด้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 เข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่ 6 เดือน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
Other Abstract: Immunity against COVID-19 infection in vaccinated individuals varies based on the vaccine type, duration after vaccination or infection, and SARS-CoV-2 variant type. We conducted a  observational study to evaluate the immunogenicity of a booster vaccination with AZD1222 after two doses of CoronaVac (booster group) compared to individuals who had COVID-19 infection after receiving two doses of CoronaVac (infection group). We used a surrogate virus neutralization test (sVNT) to evaluate immunity against wild-type and Omicron variant (BA.1) at 3 and 6 months after infection or booster dose. Of the 50 participants, 25 were in the infection group, and 25 were in the booster group. At 3 months post-infection or booster vaccination, the median sVNT against wild-type at 3 months after infection or booster vaccination was 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) in the infection group and 97.6% (IQR 94.6%-98%) in the booster group (p=0.21). At 6 months, the median sVNT against wild-type was 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) in the infection group higher than 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) in the booster group (p=0.04). In conclusion, immunity against the wild-type virus at 3 months after two doses of CoronaVac-vaccinated HCWs with a history of COVID-19 infection was non-inferior to that of HCWs who received a booster dose of AZD1222. However, the infection group exhibited better immunity than the booster group at 6 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82543
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1032
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.1032
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470061730.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.