Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82612
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม-
dc.contributor.authorพราวศินี พันธ์ทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:18:49Z-
dc.date.available2023-08-04T06:18:49Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82612-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวและการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล อายุ 18 – 39 ปี ที่มีแนวโน้มท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 (ปี 2566 – 2567) รวมจำนวนทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวไทยมีการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล ในขณะที่สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างแทบไม่เคยหรือไม่เปิดรับเลย โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ยังเป็นสื่อหลักที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมหาข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว ในส่วนของความต้องการเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ยังคงให้ความสำคัญทางด้านความปลอดภัย โดยยังมีความต้องการข่าวสารด้านโควิด-19 อยู่ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มในการตัดสินใจไปท่องเที่ยวต่างประเทศภายในปี 2567 อย่างแน่นอน โดยอยากไปประเทศใหม่ที่ยังไม่เคยไป โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการประเมินผลก่อนการตัดสินใจ โดยเหตุผลหลักของความต้องการท่องเที่ยวต่างประเทศของนักท่องเที่ยวไทย คือ ความสวยงามของประเทศนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งสืบเนื่องช่วงที่มีการระบาดโควิด-19 นักท่องเที่ยวไทยมีความจำเป็นต้องกักตัวจากโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นระยะเวลานาน-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to explore tourism information exposure  and decision to travel abroad, study the differences in demographic characteristics and explain the relationship between tourism information exposure and decision to travel abroad after the COVID-19 of Thai tourists by this research is a quantitative research in the form of survey research. The target group is Thai tourists who living in Bangkok Metropolitan Area, aged 18 – 39 years old, who tend to travel abroad after the COVID-19 (2023 - 2024) that total of 410 samples. The research found that Thai tourists are most exposed to tourism information via the Internet media, especially on social media, followed by personal media. For print media and special media which a little exposure, the internet media is the main media that Thai tourists like to find tourism information. In terms of the demand for tourism information content that Thai tourists still the importance to safety and need information about COVID-19, In addition, the tourists definitely decided to travel abroad within 2024, the tourists want to go to new countries and emphasizing on the evaluation before making a decision. The main reason for the demand for foreign travel of Thai tourists is the beauty of the country first followed by want to relax which is due to the need to quarantine from COVID-19 that effected to Thai tourists couldn’t to travel abroad for a long time.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.625-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.subject.classificationInformation and communication-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการท่องเที่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19-
dc.title.alternativeThe relationship between tourism information exposure behavior and decision to travel abroad after COVID-19-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.625-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480036228.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.