Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82623
Title: | การพัฒนาระบบปรับเหมาะการเรียนแบบจำลองขั้นตอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอนสี่องค์ประกอบ เพื่อพัฒนาความตระหนักด้านความปลอดภัย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ |
Other Titles: | The development of adaptive procedural simulated learning system based on four-component instructional design to promote safety awareness for undergraduate students majoring in gems and jewelry |
Authors: | ชาญเกียรติ มหันตคุณ |
Advisors: | ประกอบ กรณีกิจ จินตวีร์ คล้ายสังข์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฯ 2) พัฒนาระบบฯ 3) ศึกษาผลการใช้ระบบฯ 4) นำเสนอระบบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการ คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 335 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ความคิดเห็นและรับรองรูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับอัญมณี 16 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เครื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี2 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างระบบการเรียน แบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ปรับเหมาะแบบจำลองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความตระหนักด้านความปลอดภัยในกาทำงาน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การเรียนการสอนแบบปรับเหมาะ 2) การเรียนการสอนสี่องค์ประกอบ 3) เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา 4) การวัดและการประเมินผล 5) บทบาทผู้เกี่ยวข้อง กระบวนการเรียนการสอนในระบบ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเข้าสู่บทเรียน 2) ทดสอบก่อนเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 3) ปฏิบัติการจำลองขั้นตอนแบบปรับเหมาะตามการชี้นำ 4) บันทึกการเรียนรู้ 5) ทดสอบหลังเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 6) นำเสนอผลประเมินและสรุปบทเรียน ผลการทดลองใช้ระบบการเรียนฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงานหลังทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to investigate needs for developing safety awareness learning system 2) to develop a 4C/ID-based adaptive procedural simulation (4C/APS) learning system to promote safety awareness 3) to test the effects of the learning system on safety awareness and 4) to propose 4C/APS learning system to promote safety awareness in undergraduate students majoring in gems and jewelry. The subjects in model development consisted of 27 experts including 8 educational technology experts, 16 jewelry manufacturing experts, and 3 educational psychology experts. The subjects in system experiment were 26 undergraduate students from Poh-Chang Academy of Arts who enrolled in Metalware and Jewelry Making 2 course. The research instruments consisted of questionnaires, an expert interview forms, system evaluation forms, and an adaptive computer assisted instruction. The data gathering instruments consisted of two safety awareness tests, and a student’s satisfaction towards the learning system questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test dependent, and one-way ANOVA. The research results indicated that the developed system consisted of five components as follows: 1) adaptive learning 2) 4C/ID 3) educational technology tool 4) measurement and evaluation and 5) roles of persons involved. The learning process within the system consisted of six steps as follows: 1) introduction 2) screening test 3) adapted procedural simulation with guidance 4) learning journal entry 5) post-assessment 6) presentation of safety performance result and summary. The result of the experiment indicated that the mean post-test score of safety awareness was higher that pre-test mean score at .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82623 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.585 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.585 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684206827.pdf | 7.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.