Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82681
Title: | การพัฒนาโมไบล์ช่วยการเรียนรู้ภาษาด้วยการฟังและการพูดอย่างกว้างขวางร่วมกับการให้ผลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Development of mobile assisted language learning using extensive listening and speaking with constructive feedback to enhance secondary school students' confidence in English communication |
Authors: | ณัฐมน ศรีสุข |
Advisors: | เนาวนิตย์ สงคราม พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของโมไบล์ช่วยเรียนรู้ภาษา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการให้ผลป้อนกลับและปัจจัยเชิงสาเหตุความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2.-4. เพื่อพัฒนา ศึกษาผลและรับรองรูปแบบโมไบล์ช่วยเรียนรู้ภาษา ด้วยการฟังและพูดอย่างกว้างขวางร่วมกับการให้ผลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นของโมไบล์ช่วยเรียนรู้ภาษา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการให้ผลป้อนกลับและปัจจัยเชิงสาเหตุความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 672 ระยะที่ 2 การพัฒนาโมไบล์ช่วยการเรียนรู้ภาษาด้วยการฟังและพูดอย่างกว้างขวางร่วมกับการให้ผลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาและด้านการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว ระยะที่ 3 การศึกษาผลของการใช้รูปแบบโมไบล์ช่วยเรียนรู้ภาษา ด้วยการฟังและพูดอย่างกว้างขวางร่วมกับการให้ผลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 22 คน ระยะที่ 4 การรับรองรูปแบบโมไบล์ช่วยเรียนรู้ภาษา ด้วยการฟังและพูดอย่างกว้างขวางร่วมกับการให้ผลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเหมือนกับระยะที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและปัจจัยเชิงสาเหตุ จึงได้องค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบ ดังนี้ องค์ประกอบของโมไบล์ช่วยการเรียนรู้ภาษา ประกอบด้วย 1. ทุกที่ทุกเวลา (ubiquity) 2. การแบ่งปันเนื้อหาผ่านเครือข่าย (connectivity) 3. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (social Interactivity) 4. เอกัตภาพการเรียนรู้ส่วนบุคคล (individuality) ขั้นตอนของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) การฟังและการพูดอย่างกว้างขวาง 1.1. การเลือกเรื่องที่ฟังและพูดอย่างอิสระ (selection) 1.2. ทำภารกิจเรื่องที่ฟังและพูดที่สนใจ (mission) 1.3. การนำเสนอเรื่องที่ตนเองศึกษา (presentation) 2) การให้ผลป้อนกลับ ประกอบด้วย 2.1. ผลป้อนกลับจากครูและเพื่อน (Teacher’s and peer’s observation observation) 2.2. การอภิปรายร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน(Teacher-student collaboration) 2.3. การประเมินตนเองของผู้เรียน (Students’ self-perception) ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองและหลังการทดลองพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 |
Other Abstract: | This study is a research and development project with the following objectives: 1) to assess the need for Mobile Assisted Language Learning, English language instruction, constructive feedback, and causal factors affecting secondary school students' confidence in English communication; and 2-4) to develop, study, and certify mobile-assisted language learning with constructive feedback to enhance secondary school students' confidence in English communication. The research comprises four phases. Phase 1: Assessing the need for Mobile Assisted Language Learning, English language instruction, constructive feedback, and causal factors affecting secondary school students' confidence in English communication. The research sample consisted of 672 secondary school students. Phase 2: Development of the model, with experts in educational technology and communication, English language teaching, counseling, and guidance as the sample. Phase 3: Conducting a study on the effect of using the model. The research sample consisted of 22 secondary school students. Phase 4: Similar to Phase 2; Model Certification , using the same sample as in the previous phase. The research's findings were obtained through document analysis and related research. The outcomes of the study identified essential needs and causal factors. The components of Mobile Assisted Language Learning include: 1. Ubiquity 2. Connectivity 3. Social Interactivity 4. Individuality The stages of the model are as follows: Extensive listening and speaking, involving selection, mission, and presentation. Feedback, consisting of teacher and peers' observation, teacher-student collaboration, and students' self-perception. Comparing the average levels of confidence in communicating in English at different points in time, the study's results revealed a statistically significant increase in confidence, with an observed difference of 0.05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82681 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.402 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.402 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281012927.pdf | 7.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.