Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82762
Title: การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ
Other Titles: Adaptation of cleaning management methods in commercial office buildings during the COVID-19 pandemic : a case study of 5 commercial office buildings on Wireless Road, Bangkok, Thailand
Authors: พงศธร พ่วงเงิน
Advisors: เสริชย์ โชติพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: องค์การอนามัยโลกตรวจพบไวรัส โควิด 19 ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด 19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อาคารสำนักงานให้เช่าเป็นอาคารที่มีผู้ใช้อาคารจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคระบาด งานรักษาความสะอาดจึงเป็นส่วนงานสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของโรคระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ 5 กรณีศึกษาในช่วงปกติและช่วงแพร่ระบาด โดยศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ, วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการสำรวจพื้นที่ จากนั้นนำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาลักษณะร่วม สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดจากช่วงปกติสู่ช่วงแพร่ระบาดนั้น มีการเพิ่มรายการและความถี่ของวิธีการรักษาความสะอาด เพิ่มวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษ และมีการจัดการงบประมาณ2 รูปแบบ ได้แก่ มีและไม่มีการขออนุมัติงบประมาณสำหรับการรับมือและจัดการโรคระบาด โดยแนวทางการจัดการงบประมาณที่ไม่มีการขออนุมัติ คือ โยกงบประมาณที่คงเหลือจากหมวดที่มีค่าใช้จ่ายลดลงตามการใช้งาน และการจัดการงบประมาณทั้ง 2 รูปแบบ ได้รับการสนับสนุนวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษจากผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดและจากผู้เช่าและมีวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาด 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ 2.การยับยั้งการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่หลังจากพบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งผลต่อวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาดมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ประเภทองค์กรผู้เช่า 2.รูปแบบพื้นปฏิบัติงาน และ 3.ผู้ติดเชื้อ
Other Abstract: The detection of Coronavirus disease 2019 (COVID-19) was initially reported by The World Health Organization (WHO) on December 31st, 2019. Subsequently, WHO declared COVID-19 as a pandemic on March 11th, 2020.  Generally, the person-to-person transmission of COVID-19 is through respiratory droplets generated by infected person during coughing or sneezing. Thus, commercial office buildings, particularly those with a large number of occupants, may pose a high risk of being a source to spread the Coronavirus. In order to mitigate the risk of COVID-19 transmission in the commercial office buildings, it is imperative to implement the effective cleaning method. This study aims to examine the adapt cleaning method for commercial office buildings on the Wireless road during the COVID-19 pandemic with five case studies. All data were gathered through interviews with relevant stakeholders and survey of the premises. Then, the obtained data was organized, analyzed, concluded and discussed in details. Based on the results of this study, it was found that a shift from standard to pandemic cleaning management methods in commercial office buildings requires an additional list and a higher frequency of cleaning methods. In addition, it entails the procurement of specialized materials and equipment, as well as additional budget management. Furthermore, it was discovered that there are two methods to manage cleaning duties during the pandemic: 1) preventing and reducing the spread of infectious agents, and 2) inhibiting the in-site transmission after the discovery of an infectious person. Additionally, this study revealed that there are three factors affecting the cleaning management methods during the COVID-19 pandemic in commercial office buildings, including: 1) tenant organization type; 2) workspace type; and 3) an infected person.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82762
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.942
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.942
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6372015925.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.