Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรชัย อาภรณ์วิชานพ-
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ประเสริฐเจริญสุข-
dc.contributor.authorณิรินทร์ญา กิตติ์จิรวิชญ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T07:36:13Z-
dc.date.available2023-08-04T07:36:13Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83090-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractฟาร์มไก่ไข่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยซึ่งทำให้มีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพที่สูงเนื่องจากมูลไก่สามารถเก็บรวบรวมได้ง่ายและสามารถลำเลียงมูลไก่โดยใช้สายพานลำเลียงและไม่มีวัสดุรองพื้นมาเจือปนมากับมูล งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการแปรรูปมูลไก่ไข่เป็นน้ำมันดิบชีวภาพ (Biocrude) ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับมูลที่มีความชื้นสูงอย่างเทคโนโลยี Hydrothermal liquefaction (HTL) และผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบชีวภาพจะถูกนำมาแปรรูปเป็นสารเคมีมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของผลิตภัณฑ์ของเหลวที่เหลือ (HTL-AQ) จะถูกนำมาการปรับปรุงคุณภาพด้วย Wet Oxidation (WO) และแปรรูปเป็นแก๊สไฮโดรเจนด้วยเทคโนโลยี Aqueous Phase Reforming (APR) ผ่านการจำลองกระบวนการด้วยโปรแกรม Aspen Plus  และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสภาพวะที่เหมาะสมและการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการรวมถึงผลิตภัณฑ์และการลดการปลดปล่อยของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจากผลการจำลองพบว่าที่การดำเนินการของการะบวนการ HTL ที่อุณหภูมิ 340 ͦ C และความดัน 18 MPa มูลไก่ไข่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์สามชนิด ได้แก่ HTL-AQ ร้อยละ 67.21 โดยมวล  biocrude ผลิตภัณฑ์น้ำมันชีวภาพ ร้อยละ 22.46 โดยมวล และก๊าซอื่นๆ ร้อยละ 10.33 โดยมวล นอกจากนี้ช่วงของอัตราส่วนการป้อนแก๊สไฮโดรเจนต่อผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบชีวภาพที่เหมาะสมของกระบวนการ hydrotreating จะอยู่ที่ 1:60 – 1:30 ส่วนอัตราส่วนการป้อน HTL-AQ ต่อแก๊สออกซิเจนที่เหมาะสมต่อกระบวนการ WO คือช่วง 1:9 ถึง 1:10 สำหรับกระบวนการ APR อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 270 °C ซึ่งเป็นอุณหภูมิเริ่มต้นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์แก๊สไฮโดรเจนมีแนวโน้มสูงขึ้นและความดันที่เหมาะสมอยู่ที่ 15-20 bar ซึ่งทำให้ความบริสุทธิ์ของไฮโดรเจนอยู่ที่ร้อยละ 64.89 โดยมวลและมีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ร้อยละ 21.35 หลังจากปรับปรุงกระบวนการ -
dc.description.abstractalternativeA laying hen farm has a high potential for producing biogas in Thailand due to the ease of collecting manure via a conveyor without bedding materials included. This research aims to study the conversion of laying hen manure with a high moisture content biomass into biocrude via Hydrothermal Liquefaction (HTL). The biocrude can be further processed into value-added chemicals where the remaining HTL aqueous phase (HTL-AQ) is able to be treated via Wet Oxidation (WO) before converting to hydrogen via Aqueous Phase Reforming (APR).  The proposed process was modeled using Aspen Plus to optimize the HTL integrated process, improve product quality and reduce CO2 emissions. The simulation results showed that at the HTL operating conditions of 340°C and 18 MPa pressure, the majority of laying hen manure was converted into three main products:  67.21 wt.% of HTL-AQ, 22.46 wt.% of biocrude, and 10.33 wt.% of gases. Additionally, the suitable hydrogen gas-to-biocrude feeding ratio for hydrotreating was found to be in the range of 1:60 – 1:30, while the suitable HTL-AQ to oxygen gas ratio for WO was in the range of 1:9 to 1:10. As for the APR process, the temperature was found to be 270°C, which is the initial temperature that promotes higher hydrogen gas production, with a suitable pressure range of 15-20 bar, resulting in a hydrogen purity of 64.89 wt.% and reduced CO2 emissions of 21.35% after optimization.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.802-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการผลิตสารเคมีมูลค่าเพิ่มและแก๊สไฮโดรเจนผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มัลลิควิแฟกชันแบบบูรณาการของมูลไก่ไข่-
dc.title.alternativeValue-added chemicals and hydrogen-rich gas production from the integrated hydrothermal liquefaction of laying hen manure-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมี-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.802-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370107521.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.