Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83422
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธนพัฒน์ ทองมา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-21T08:42:08Z | - |
dc.date.available | 2023-08-21T08:42:08Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83422 | - |
dc.description | ห้องเรียนกลับด้าน -- เว็บแอพลิเคชัน Edpuzzle -- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมี ปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับโดยใช้วีดิทัศน์แบบมี ปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle และวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ บทเรียนวีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บน เว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle เรื่อง ภาคตัดกรวย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบ ปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทาง (Two–way ANOVA) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอป พลิเคชัน Edpuzzle มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ระดับความสามารถทางการเรียนของนักเรียนกับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle จะช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนกลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อนได้ดีกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ สำหรับนักเรียนที่มีระดับความสามารถอยู่ในกลุ่มเก่ง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภาคตัดกรวย ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บแอปพลิเคชัน Edpuzzle และกลุ่มที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to compare mathematics learning achievement on conic sections of tenth grade students between groups that were taught by using the flipped classroom together with interactive videos on Edpuzzle (the experimental group) and those who were taught by using the conventional approach (the control group), and (2) to study the interaction effect between learning abilities and approaches of learning activities on mathematics learning achievement on conic sections of tenth grade students. The sample consisted of 51 students from two different classes in Mathayom 4 of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School in academic year 2021. The experimental instruments constructed by the researcher were interactive videos on Edpuzzle, lesson plans using the flipped classroom and lesson plans using the conventional approach. The data collection instrument was the mathematics learning achievement test on conic sections. The data were analyzed by independent samples t-test and two-way ANOVA. The research results revealed as follows: 1) The students who were taught by using the flipped classroom together with interactive videos on Edpuzzle had the mathematics learning achievement on conic sections higher than those who were taught by using the conventional approach at .05 level of significance. 2) There was a statistically significant interactive effect between different levels of learning abilities and approaches of learning activities on mathematics learning achievement on conic sections at .05 level. Furthermore, the testing of simple main effects were found that the mathematics learning achievement on conic sections of the students with moderate and low learning abilities taught by using the flipped classroom together with interactive videos on Edpuzzle was higher than those of students being organized learning activities by using the conventional approach at .05 level of significance. However, there was no significant difference in mathematics learning achievement on conic sections of the students with a high learning ability taught by using the flipped classroom together with interactive videos on Edpuzzle against the conventional approach. | en_US |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากเงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปีงบประมาณ 2565 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ห้องเรียนกลับด้าน | en_US |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.title | ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้วีดิทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์บนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Effects of flipped classroom with interactive videos via web on mathematics achievement on conic sections of tenth grade students with different learning abilities | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanapat Tho_Res_Ed_2565.pdf | 130.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.