Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83499
Title: | ผลของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลที่มีต่อสังคมราเอ็กโทไมคอร์ไรซาใต้ดินและแอกทิวิตีของเอนไซม์ในดินในป่าเต็งรัง : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Effects of seasonal variation on below-ground ectomycorrhizal fungal communities and soil enzyme activities in dry dipterocarp forests |
Authors: | จิตรตรา เพียภูเขียว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | เชื้อรา เชื้อรา -- การผันแปรตามฤดูกาล เชื้อรา -- การกระจายทางภูมิศาสตร์ ราเอคโตไมคอร์ไรซา |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอ็กโทไมคอร์ไรซาเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยระหว่างราและพืช รวมถึงไม้ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae) ซึ่งเป็นไม้เด่นในป่าเต็งรัง โดยเอนไซม์จากราเอ็กโทไมคอร์ไรซาซึ่งเกี่ยวข้องในกระบวนการแลกเปลี่ยนคาร์บอนที่พืชได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงและธาตุอาหารในดินจากรานั้น ส่งผลต่อกระบวนการหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าเต็งรัง เพื่อเข้าใจถึงบทบาทของราเอ็กโทไมคอร์ไรซาต่อ การหมุนเวียนแร่ธาตุนี้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามเวลาของสังคมราเอ็กโทไมคอร์ไรซาในป่าเต็งรังรุ่นที่สองในจังหวัดน่านและสระบุรี รวมถึงศึกษารูปแบบและพลวัตของแอกทิวิตีของเอนไซม์จากดินและ รากเอ็กโทไมคอร์ไรซาใต้ดิน โดยป่าเต็งรังในจังหวัดน่าน มีไม้เด่นเป็นไม้วงศ์ไม้ยาง 4 ชนิด ในขณะที่มีไม้วงศ์ไม้ยางเพียงชนิดเดียวเป็นไม้เด่นในพื้นที่ป่าเต็งรังจังหวัดสระบุรีซึ่งกำลังฟื้นตัวหลังจากถูกรบกวนได้ไม่นาน วางแปลงศึกษาจำนวน 3 แปลงในแต่ละพื้นที่ จากนั้นเก็บตัวอย่างดินครั้งละ 15 ตัวอย่างต่อแปลงศึกษา จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนกันยายน 2560 ถึงสิงหาคม 2561 โดยครอบคลุมฤดูฝนและฤดูแล้ง ทำการเปรียบเทียบสังคมราใต้ดินในแต่ละพื้นที่และระหว่างฤดูกาลจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรากเอ็กโทไมคอร์ไรซา ตรวจสอบค่าแอกทิวิตีของเอนไซม์ acid phosphatase (AP) β-glucosidase (BG) และ β-N-acetylglucosaminidase (NAG) ทั้งจากดินและรากเอ็กโทไมคอร์ไรซา ฤดูกาลละ 1 ครั้ง ด้วยวิธี para-nitrophenol ผลการวิจัยพบว่า ความชื้นในดินและจำนวนรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาสูงที่สุดในเดือนกันยายน 2560 ซึ่งเป็นฤดูฝน พบรากเอ็กโทไมคอร์ไรซา 14 ลักษณะจากแต่ละพื้นที่และรากแต่ละลักษณะมี การเปลี่ยนแปลงตามเวลาแตกต่างกัน สำหรับค่าแอกทิวิตีของเอนไซม์จากดินทั้ง 3 ชนิด พบว่ามีเพียง BG ที่มีค่าลดลงในฤดูฝนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าแอกทิวิตีเฉลี่ยของเอนไซม์ AP จากรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาที่จังหวัดสระบุรีในฤดูฝนมีค่าน้อยกว่าเอนไซม์ในฤดูแล้ง ในขณะที่รากเอ็กโทไมคอร์ไรซาที่จังหวัดน่าน เอนไซม์ BG มีค่าแอกทิวิตีสูงในฤดูฝน ค่าเฉลี่ยของแอกทิวิตีของเอนไซม์จากรากเอ็กโทไมคอร์ไรซาทั้งหมด รวมถึงจากรากแต่ละลักษณะมีความแปรผันระหว่างแปลงศึกษาซึ่งอาจเป็นผลจากแหล่งที่อยู่อาศัยย่อยในแต่ละบริเวณ |
Other Abstract: | Ectomycorrhizal (ECM) association is a mutualistic relationship between fungi and host plants, including the trees in the Dipterocarpaceae which are distinguishing features of dry dipterocarp forests. Various ECM enzymes are involved in the exchange of photosynthetically-fixed carbon and nutrients between host plants and fungi, influencing the nutrient cycling processes within the dry dipterocarp ecosystems. To understand the contribution of ECM fungi to the nutrient cycling, this research studied the temporal changes in the ECM fungal community in secondary dry dipterocarp forests (DDF) in Nan and Saraburi Provinces, as well as the patterns and dynamics of extracellular enzyme activity of the ECM in both soil and below-ground ECM fungal communities. Secondary DDF in Nan province were dominated by four dipterocarp species while only one dipterocarp species dominated the remnants of DDF in Saraburi Province which have recently recovered. Three plots were established in each forest and 15 soil samples were collected from each plot during each of the 4 sampling times from September 2017 to August 2018, covering wet and dry seasons. Fungal community composition of different forests and seasons were compared based on root morphotypes. To examine the enzyme profiles under the forest floors, the activities of acid phosphatase (AP), β-glucosidase (BG) and β-N-acetylglucosaminidase (NAG) of both soil samples and ECM root tips were measured once in each season using the para-nitrophenol (pNP) enzyme assays. Soil moisture content and number of total ECM roots in both DDFs were the highest in September 2017, corresponding to the wet season. Fourteen ECM morphotypes were detected from each forest and the different patterns of temporal change were found in each ECM morphotype. Among 3 soil enzymes activities, only BG decreased in the wet season significantly. Average AP activities from ECM roots in Saraburi in the wet season was lower than the dry season while BG in NAN showed higher activities in the wet season. Average enzyme activities from the total ECM roots as well as from specific morphotypes showed variation among plots, suggesting the possible influence of local microhabitats. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83499 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2018.4 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.RES.2018.4 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sci_Jittra Piapukiew_2018.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.