Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83571
Title: การคัดเลือกเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอสำหรับนกกระเรียนพันธุ์ไทย (Grus antigone sharpii) ในสภาพกรงเลี้ยง : รายงานผลการดำเนินงาน
Other Titles: Screening of microsatellite DNA markers for captive eastern sarus crane (Grus antigone sharpii)
Authors: อัมพร วิเวกแว่ว
ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
รังสินี สันคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: นกกระเรียน -- ไทย
ไมโครแซทเทลไลท์ (พันธุศาสตร์)
Sarus crane -- Thailand
Microsatellites (Genetics)
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นกกระเรียนพันธุ์ไทย (Grus Antigone sharpie) ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของประเทศไทย โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ต่อมาได้มีการขอรับบริจาคนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากประเทศกัมพูชามาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ในสภาพกรงเลี้ยง ซึ่งการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ไม่ได้ต้องการเพิ่มจำนวนและอัตราความอยู่รอดของประชากรในสภาพกรงเลี้ยงเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความหลากลหายทางพันธุกรรมภายในประชากร ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (n=9) และสถานีวิจัยเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ (n=17) โดยเก็บตัวอย่างเส้นขนมาสกัดดีเอ็นเอ เพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์ที่เคยใช้ศึกษาในนกกระเรียนกู่ (G.americana) จำนวน 14 คู่ รวมถึงหาจำนวนของอัลลีล ลำดับเบสซ้ำ จำนวนชุดการซ้ำ และค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมบริเวณโลคัส Gram6 ผลการศึกษาพบว่าไพรเมอร์ทั้งหมดสามารถใช้เพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอในจีโนมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยได้แต่มีเพียง 9 คู่ที่แสดงความเป็น polymorphism โดยลำดับเบสที่ซ้ำกัน คือ (AGGT)n(AGAT)n จำนวนของอัลลีลมีค่าเท่ากับ 6 ค่า observed และค่า expected heterozygosity เท่ากับ 0.7692 และ 0.7825 ตามลำดับ แสดงว่าประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยในสภาพกรงเลี้ยงจาก 2 พื้นที่การศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูงและค่า Fst เท่ากับ 0.0274 แสดงว่าทั้ง 2 ประชากรมีอัลลีลร่วมกัน
Other Abstract: Grus Antigone sharpie is the only crane species that was reported in Thailand, though it has become extinct in the wild due to the depletions of its natural habitats and food sources. The Thai government with the Cambodian collaboration has tried to repopulate G. a. sharpie using wild Cambodian specimens as an initial breeding stock. Captive breeding can increase the population size and survivorship of the G.a. sharpie in Thailand, but the genetic diversity of the crane are also of immense importance as well, since the fixation of unfavorable alleles may drive the reemerging population to become extinct again. In this study, 14 microsatellite primers isolated from a closely related species of G.a. sharpie, the whooping crane (G. Americana), were used to screened 26 G.a. sharpie individuals collected from Khao Kheow open zoo (n=9) and Bangpra water bird research center (n=17). Our results show that all of the 14 primers are successfully amplified however, only 9 pairs exhibit polymorphisms. The repeated sequences of the Gram6 locus is (AGGT)n(AGAT)n, with a total number of alleles at tis locus at 6. The observed (H₀) and expected heterozygosities (He) are 0.7692 and 0.7825, respectively; albeit, H₀ is lower than He, the Hardy-Weinberg equilibrium is attained at this locus (p>0.05). The F coefficient suggests that the populations from the two breeding stocks share many common alleles (Fst = 0.0274, p<0.05). Our result suggests that the breeding stocks may be suitable for future re-habitation initiatives of the G.a.sharpii in Thailand.
Description: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83571
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn Wi_Res_2560.pdf31.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.