Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83688
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorรุ้งระวี นาวีเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-10-05T09:27:27Z-
dc.date.available2023-10-05T09:27:27Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83688-
dc.description.abstractบทนำ แผลเท้าเบาหวานส่งผลกระทบด้านลบกับคุณภาพชีวิตและการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูแลรักษาเบาหวาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลเท้าที่เท้าในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้า ซึ่งมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประเทศไทย วัสดุและวิธีการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลินจำนวน 80 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามการจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ที่เป็นเบาหวาน แบบสอบถามการจัดการตนเองประเมินเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การเฝ้าระวังตนเอง และการดูแลเท้า แบบสอบถามคุณภาพชีวิตใช้แบบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI จำนวน 26 ข้อ เก็บข้อมูลเฉพาะเจาะจงจากคลินิกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมและคลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนกันยายน 2552 ถึง ตุลาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 50 และ มีอายุระหว่าง 50-59 ปีร้อยละ 27.5 ในขณะที่เป็นผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของแผลระดับ 1 ร้อยละ 61.5 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตและการจัดการตนเองพบว่า มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<.05 สรุป การมีคุณภาพชีวิตที่ดีสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลิน ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลินควรได้รับการส่งเสริมให้มีการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น พยาบาลถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลินความรู้ดังกล่าวช่วยให้พยาบาลสามารถพัฒนาโปรแกรมในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลินen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Diabetic foot ulcers have a negative impact on quality of life and self-management of the condition is a key component of diabetes treatment. However, no study has yet been conducted to determine the relationship between quality of life and self-management among Thai non-insulin dependent diabetic patients with foot ulcers in Thailand. Objectives: To examine the relationship between the quality of life (QOL) and diabetes self-management among Thai non-insulin dependent diabetic patients with foot ulcers in King Chulalongkorn Memorial Hospital, Thailand. Material and Method: This was a cross-sectional study of 80 participants with diabetic foot ulcers in Bangkok, Thailand. Thai non-insulin dependent diabetic patients with foot ulcers were given a questionnaire about diabetes self-management and quality of life. Self-management was assessed by evaluating dietary intake, exercise, medication, self-monitoring, and foot care and WHOQOL-BREF-THAI was used to investigate quality of life. A purposive sampling technique was used for selecting participants from 2 outpatient departments - surgical and rehabilitation. Data were collected from September 2009 to October 2010. Simple descriptive statistics were used to provide the basic information and Pearson's product moment was applied. Results: This study found that the majority (51.3%) of study participants were males and belonged to the age groups of either > 60 years (50%). Over half (61.5%) of the participants were grade 1. The Bivariate analysis revealed that there was a moderate association between self-management and quality of life (p <.05). Conclusions: The result in the present study suggested that good quality of life is significantly related to good self-management in Thai non-insulin dependent diabetic patients with foot ulcers. Therefore, these patients should be encouraged to perform self-management to improve quality of life.en_US
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานen_US
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen_US
dc.titleคุณภาพชีวิต และการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวานมีแผลที่เท้าชนิดไม่พึ่งอินสุลินen_US
dc.title.alternativeQuality of life and self-management in Thai non-insulin dependent diabetic patients with foot ulcersen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungrawee Navi_Res_2554.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)50.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.