Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83720
Title: | แฟชั่นอิตาเลียนกับสถานภาพทางสังคมในภาพยนตร์โทรศัพท์สีขาว |
Other Titles: | Italian fashion and social status in the white telephone films |
Authors: | ปาจรีย์ ทาชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Subjects: | แฟชั่น แฟชั่นในโทรทัศน์ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแฟชั่นเครื่องแต่งกายและวิถีชีวิตอิตาเลียนรูปแบใหม่กับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมของตัวละครซึ่งกลายเป็นสูตรสำเร็จของภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อประเภทตลกโรแมนติกเสียดสีสังคอิตาเลียนชั้นสูง หรือที่เรียกว่า “ภาพยนตร์โทรศัพท์สีขาว” ที่สร้างขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่สองของระบบเผด็จการฟาสซิสต์อิตาลี โดยเลือกวิเคราะห์ภายยนตร์อิตาเลียนจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ Daro un milione [ผมจะให้เงินล้านนึง] (1935) Il Signor Max [คุณชายแม็กซ์] (1937) และ I Grandi Magazzini [ห้างสรรพสินค้า] (1939) ³ ของมาริโอ คาเมรินี ผู้กำกับชาวอิตาเลียน ภาพยนตร์ประเภทนี้เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลฟาสซิสต์ของนายกรัฐมนตรีเบนิโต มุสโสลินี ใช้สร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองแนวใหม่และตอบสนองความต้องการของมวลชน ด้วยการนำเสนอภาพจำลองวิถีชีวิตของคนอิตาเลียนในสังคมอุดมคติผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงานรับจ้างและชนชั้นกลางระดับล่าง เพียงหวังว่าอาจเป็นภาพฝันที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ชมจำนวนมากเกิดความประทับใจ และมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตบนโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างมีความสุขและเหมาะสมตามนโยบายฟาสซิสต์ รวมถึงสร้างความรู้สึกร่วมในหมู่มวลชน อันจะนำไปสู่ความนิยมรัฐบาลและฉันทามติได้ แฟชั่นเครื่องแต่งกายของตัวละครจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำหน้าที่เชิงสัญลักษณ์ สะท้อนบุคลิกลักษณะ อัตลักษณ์ และภูมิหลังของตัวละคร ซึ่งมาจากฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีส่วนร่วมถ่ายทอดรูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ และขับเคลื่อนนโยบายสร้าง “คนอิตาเลียนแบบใหม่” พร้อมทั้งส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยมและรัฐนิยม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศอิตาลีในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย |
Other Abstract: | This article analyses the relations between fashion, new Italian lifestyle and social mobility of the main characters that turn into a classic formula of the Italian screwball comedy, so-called the “White Telephone Films”, mainly produced during the second decade of the Fascist period. It focuses on three Italian films directed by Mario Camerini which are Daro un milione (1935), Il Signor Max (1937) and I Grandi Magazzini (1939). Since the mid-1930s, the Fascist Government of Benito Mussolini used this genre of Italian cinema as a political tool to communicate and manipulate public opinion in a new way, as well as to serve their needs. Therefore, the director had to present only the beautiful and positive images of Italian way of life through petite bourgeoisie and working class characters in an ideal society, as her expected that the simply luxurious life in films would convince and inspire the audience to believe in the values of Fascism and to give consensus. Fashion of the characters, however, played an important role because it not only symbolically represented characteristics and identities of the characters, coming from different socio-economic backgrounds, but also portrayed how Italian people lived their lives in that modern society. Moreover, Italian fashion of the Thirties is integral to the Fascist policy of the Myth of Italian New Man and Woman and the campaign of Italian self-sufficiency which led to the development of Nationalism before and during the Second World War. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83720 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pajaree_Ta_Res_2558.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 20.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.