Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83776
Title: การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564
Authors: พัชร์ นิยมศิลป
Email: pat.n@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: สิทธิการชุมนุม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การชุมนุมสาธารณะ
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับการ ดูแลการชุมนุมสาธารณะ แต่เจ้าหน้าที่รัฐก็ยังคงใช้กฎหมายอื่น ๆ มาจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมเหมือนเช่นเคย เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นในปี พ.ศ. 2563 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.การ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อจัดการกับการระบาดของโรคส่งผลให้มีข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งจำนวนมากที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบการจำกัดเสรีภาพในการ ชุมนุมของขบวนการนิสิตนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ระหว่าง ปี 2563-2564 และวิเคราะห์ฐานทาง กฎหมายที่ใช้ในการจำกัดเสรีภาพตลอดจนอุปสรรคในการตรวจสอบการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม จากการศึกษา พบว่าสาเหตุที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้ตามอำเภอใจและไม่สอดคล้องกับ มาตรฐานสากลเกี่ยวกับการดูแลการชุมนุมสาธารณะเนื่องจากผู้มีอำนาจรัฐสามารถกำหนดฐานทางกฎหมายเพื่อ สร้างความชอบธรรมในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างไรก็ได้ ในขณะที่กระบวนการตรวจสอบการจำกัด เสรีภาพก็ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ยึดโยงกับหลักสากลอย่างเพียงพอ สภาวะเช่นนี้ส่งผลให้ขบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาในปี 2563-2564 ต้องเผชิญกับการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมที่ไม่สอดคล้องกับ หลักสากลทำให้ไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อแสดงออกทางการเมืองได้ในระดับเดียวกับที่พลเมืองใน ประเทศเสรีประชาธิปไตยอื่น ๆ สามารถทำได้
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83776
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pat_Ni_Res_2565.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.