Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83787
Title: | สถานะประชากรและการแพร่กระจายของแย้ Leiolepis belliana (Hardwicke & Gray, 1827) บริเวณพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี : รายงานผลการดำเนินงาน |
Other Titles: | Population status and distribution of the common butterfly lizard, Leiolepis belliana (Hardwicke & Gray, 1827), in areas of the plant genetic conservation project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn |
Authors: | นนทิวิชญ ตัณฑวณิช ณัฐนันท์ ขัณธศุภ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | แย้ Leiolepis belliana |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แย้ หรือ Butterfly lizard เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าที่มีความสำคัญในระบบนิเวศ ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัย และการล่าโดยมนุษย์ ส่งผลให้ประชากรแย้ในธรรมชาติมีจำนวนลดลง จึงได้มีการอนุรักษ์โดยนำแย้พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาเพาะเลี้ยง และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ หนึ่งในพื้นที่ ๆ มีการนำแย้มาปล่อยเพื่อเพิ่มจำนวนในธรรมชาติคือ เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และแย้ที่นำมาปล่อยเป็นหนึ่งในสี่สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิด Leiolepis belliana หรือ แย้ผีเสื้อ (Common butterfly lizard) การติดตามประชากรดังกล่าวมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการอนุรักษ์ การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ และติดตามศึกษาประชากรของแย้บนเกาะแสมสาร โดยทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างจากสามพื้นที่บนเกาะแสมสาร ได้แก่ บริเวณหาดเทียน หาดหน้าบ้าน และหาดลูกลม โดยใช้บ่วงดักที่บริเวณปากรูของแย้ ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างทุกๆ 2 เดือน (ตามตารางสำรวจย่อย) นับตั้งแต่การสำรวจเบื้องต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ทำการวัดและบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เพศ น้ำหนักตัว และความยาวลำตัว (Snout-Vent Length หรือ SVL) เป็นต้น ในกรณีแย้ที่จับได้เป็นตัวอย่างใหม่ และไม่เคยมีการทำเครื่องหมายมาก่อน จะทำการติดตั้ง PIT (Passive Integrated Transponder) tag โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรในอนาคต ปัจจุบัน ได้ทำการติดตั้ง PIT tag และ Assign หมายเลขประจำตัวให้แย้บนเกาะแสมสารไปทั้งหมด 139 ตัว และเมื่อนำข้อมูลจำนวนตัวมาคำนวนพบว่า มีประชากรแย้อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ บนเกาะแสมสารกว่า 200 ตัว การวิเคราะห์ข้อมูลน้ำหนักที่จับได้ซ้ำในแต่ละเดือนพบว่า แย้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและลดลงตามฤดูกาล คาดว่าเป็นผลจากปริมาณอาหารที่ลดลง และช่วงฤดูสืบพันธุ์ นอกเหนือจากการติดตามจำนวนประชากร และการเจริญ ได้มีการศึกษาศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรของแย้บนเกาะแสมสาร และเกาะข้างเคียง เบื้องต้น และพบความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรแย้บนเกาะต่างๆ |
Other Abstract: | Butterfly lizards are agamid lizards, which are ecologically important as predators of insects, including agricultural pests and disease vectors. In recent years, habitat destruction and hunting have resulted in population decline. Conservative measures, involving captive breeding and reintroduction programs have been implemented. Samae San Island, Chon Buri Province, is among one of the areas, where the common butterfly lizards, Leiolepis belliana, have been reintroduced into the wild through the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. As such, a long-term population monitoring program is crucial. The objective of this study was to conduct a long-term monitoring program of L. belliana population on Samae San Island. Surveys were conducted at 3 sites, namely Tien Beach, Na Baan Beach, and Looklom Beach, from May 2015 to July 2018. Specimens were captured using a noose, with a collapsible room, placed in front of the burrows. When captured, the noose was immediately removed to prevent strangulation. Morphological measurements were conducted and data, such as sex, snout-vent length (SVL), and weight, were recorded. Each specimen was marked using PIT (Passive Integrated Transponder) tags, injected subcutaneously with a 16-gauge sterilized hypodermic needle. At present, a total of 139 individuals have been marked and it was estimated that population size was more than 200 individuals. Among recaptured individuals, body weights fluctuated as a result of seasonality and reproductive cycle. Ecological factors, such as food availability and other environmental changes, possibly affected butterfly lizard population on the island. In addition to population monitoring, a genetic assessment was conducted among populations on Samae San, as well as nearby islands, and genetic variation was detected. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83787 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nontivich_Ta_Res_2562.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 14.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.