Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83861
Title: การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงและการติดตามความเสี่ยงต่อการหกล้มในช่วงเวลากลางคืนของผู้สูงอายุโดยใช้ผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นต้นแบบในการศึกษา
Other Titles: PhysioLogic studies of nocturnaL movement: UnLocking the secrets of nighttime falls in the elderly by using Parkinson's disease as a study model
Authors: รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
อรอนงค์ จิตรกฤษฎากุล
จิรดา ศรีเงิน
ชูศักดิ์ ธนวัฒโน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: การหกล้มในวัยสูงอายุ
โรคพาร์กินสัน -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2559
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงและการติดตามความเสี่ยงต่อการหกล้มในช่วงเวลากลางคืนของผู้สูงอายุโดยใช้ผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นต้นใบบในการศึกษา จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวเวลากลางคืน (night recorder) เพื่อประเมินอาการเคลื่อนไหวลำบากตอนกลางคืน หรือขณะนอนในผู้ป่วยพาร์กินสัน วิธีดำเนินการวิจัย อุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวเวลากลางคืน (night recorder) ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ a microcontroller, a power management module, a sensor module, a real-time clock module, and a data storage module. โดย sensor module เป็น triaxial integrated microelectromechanical systems ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในการประเมินการเคลื่อนไหว ตำแหน่งของร่างกายจะใช้แนวแรงโน้มถ่วงเป็นค่าเปรียบเทียบ เพื่อดูค่าการพลิกตัวบนเตียงนอน ซึ่งการดำเนินงานวิจัยโดยใช้อุปกรณ์ night recorder เพื่อประเมินการพลิกตัวและการลุกจากที่นอน โดยเริ่มทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันและคู่สามีหรือภรรยาของผู้ป่วยจำนวน 6 คู่ เป็นเวลา 1 คืน ที่บ้านของผู้ป่วยเอง ผลการวิจัย จากการศึกษา พบการเคลื่อนไหวขณะนอนทั้งหมด 134 ครั้ง เป็นการพลิกตัว 115 ครั้ง และการลุกจากที่นอน 19 ครั้ง โดยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีจำนวนครั้งการพลิกตัวที่น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.028) และมุมที่เปลี่ยนแปลงในการพลิกตัวของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ก็น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P=0.028) แต่เวลาที่ใช้ในการพลิกตัวเพื่อเปลี่ยนท่า ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อประเมินเป็นความเร็วและความเร่งในการพลิกตัวเปลี่ยนท่า แล้วผู้ป่วยโรคพาร์กินสันก็ยังมีความเร็วและความเร่งในการพลิกตัวเปลี่ยนท่าที่น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.028) นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีจำนวนครั้งการลุกจากที่นอนที่มากกว่าคู่สามีหรือภรรยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) สรุป จากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนา อุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวขณะนอน (night recorder) ที่มีขนาดเล็ก ใช้ติดกับผู้ป่วยได้ง่าย สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อประเมินอาการช่วงกลางคืน แต่ยังจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางการวินิจฉัยภาวะ nocturnal hypokinesia ให้ได้ครบถ้วน
Other Abstract: Physiologic studies of nocturnal movement: Unlocking the secrets of nighttime falls in the elderly by using Parkinson's disease as a study modeL Purpose: To develop a portable ambulatory motion recorder (the NIGHT-Recorder) that can quantify nocturnal hypokinesia in patients with Parkinson's disease (PD). Method: The NIGHT-Recorder consists of five modules: a microcontroller, a power management module, a sensor module, a real-time clock module, and a data storage module. The sensor module includes 16-bit digital-output triaxial integrated microelectromechanical system accelerometers that were specifically designed to measure intensity of movements and to register position of the human body with respect to gravity, providing information on rotations in the longitudinal axis while lying in bed. The signal processing utilizes the forward derivative method to identify turning over and getting out of bed as primary indicators. The prototype was tested on 6 PD pairs (6 PD patients and their spouses) to verify and measure their nocturnal movements for one night. Results: Using pre-determined definitions, 134 discrete movements were captured in one night consisting of rolling over 115 times and getting out of bed 19 times. PD patients rolled over Significantly fewer times than their spouses (p=0.028), and the extent of position change was Significantly smaller in PD patients (p=0.028). The duration of the new position achieved following rolling over was not significantly different between the two groups. However, PD patients rolled over at a significantly slower speed (p=0.028) and with slower acceleration (p=0.028) than their spouses. In contrast, PD patients got out of bed Significantly more often than did their spouses (p=0.02). Conclusion: It is technically feasible to develop an easy-to-use, portable, accurate, and cost effective device (approx. $8OO) that can assist physicians in the assessment of nocturnal movements of PD patients. Additional studies are needed to develop protocols to assess the full spectrum of nocturnal akinesia in a larger number of PD patients.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83861
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roongorj_Bh_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)54.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.