Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84127
Title: | นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน |
Other Titles: | Learning ecosystem management innovation of secondary schools based on the concept of disruptive innovators |
Authors: | วุฒิชัย ไกรวิเศษ |
Advisors: | พงษ์ลิขิต เพชรผล สุกัญญา แช่มช้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาและกรอบแนวคิดนวัตกรพลิกผัน 2) ศึกษาระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน 3) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน และ 4) พัฒนานวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมพหุระยะ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 336 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 2,013 คน แบ่งเป็น 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 333 คน 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มบริหารงาน รวมทั้งสิ้น 1,665 คน และ 3) ผู้ให้ข้อมูลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีวิสัยทัศน์หรือนโยบายในการสร้างนวัตกรตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มบริหารงาน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบประเมินระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1.1) การบริหารองค์ประกอบสิ่งมีชีวิต 1.2) การบริหารองค์ประกอบสิ่งไม่มีชีวิต และ 1.3) การบริหารองค์ประกอบปรัชญาองค์กร 2) กรอบแนวคิดนวัตกรพลิกผัน ประกอบด้วย 2.1) คุณลักษณะการคิดนอกกรอบ 2.2) ความเชี่ยวชาญข้ามศาสตร์ 2.3) ทักษะการค้นหา และ 2.4) ค่านิยมความยั่งยืน 3) ระดับความเป็นนวัตกรพลิกผันของผู้เรียน พบว่า 3.1) ด้านค่านิยมความยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.2) ด้านคุณลักษณะการคิดนอกกรอบ ด้านความเชี่ยวชาญข้ามศาสตร์ และด้านทักษะการค้นหา อยู่ในระดับปานกลาง 4) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน พบว่า องค์ประกอบปรัชญาองค์กร มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมา คือ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต และองค์ประกอบสิ่งไม่มีชีวิต ตามลำดับ 5) นวัตกรรมการบริหารระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน มีชื่อว่า “นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนเชิงนิเวศวิทยาเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรพลิกผัน” ประกอบด้วย 3 นวัตกรรมย่อย คือ 5.1) นวัตกรรมการบริหารปรัชญาองค์กร ประกอบด้วย (1) การสร้างวัฒนธรรมการคิดนอกกรอบ (2) การสร้างความผูกพันกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และ (3) การใช้ภาวะผู้นำแบบรวมเชิงนิเวศวิทยา 5.2) นวัตกรรมการบริหารสิ่งมีชีวิตในโรงเรียน ประกอบด้วย (1) การสร้างผู้เรียนรู้เชิงรุก (2) การเปลี่ยนบทบาทครูให้เป็นโค้ชและผู้อำนวยการเรียนรู้ และ (3) การพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ 5.3) นวัตกรรมการบริหารสิ่งไม่มีชีวิตในโรงเรียน ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะการค้นหา (2) การสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะการค้นหา และ (3) การจัดโครงสร้างองค์กรโรงเรียนแบบมีชีวิต |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to study the conceptual framework of learning ecosystem management of secondary schools and the conceptual framework of disruptive innovators 2) to study the levels of disruptive innovators of secondary students 3) to study the current and desirable states and the priority needs for developing learning ecosystem of secondary schools based on the concept of disruptive innovators and 4) to develop innovation of learning ecosystem management of secondary schools based on the concept of disruptive innovators by using a multi-phase mixed method design. The population consisted of 2,358 secondary schools under the Secondary Educational Service Office Area. The sample group consisted of 336 schools. The data source was provided by 2,013 people consisting of 1) 333 secondary students and 2) school directors or vice school directors and school administration heads, totaling 1,665 people and 3) school directors or vice school directors and school administration heads of 3 schools using constructionism learning theory chosen by purposive sampling, totaling 15 people. The research tools were assessment form, questionnaires and interviews. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, PNImodified and content analysis. The research findings showed that 1) the conceptual framework of learning ecosystem management of secondary schools consisted of 1.1) biotic component management 1.2) abiotic component management and 1.3) philosophical component management 2) the conceptual framework of disruptive innovators were 2.1) characteristics of thinking outside the box 2.2) cross-disciplinary expertise 2.3) discovery skills and 2.4) sustainability values. It was found that 1) the mean of sustainability values was at high level and 2) the mean of characteristics of thinking outside the box, cross-disciplinary expertise and discovery skills were at the medium level. 3) The current states for developing learning ecosystem of secondary schools based on the concept of disruptive innovators were at medium level and the desirable states were at the highest level. The priority needs for developing learning ecosystem of secondary schools based on the concept of disruptive innovators showed that philosophical components was the highest priority needs, followed by biotic components and abiotic components respectively. 5) Learning ecosystem management Innovation of secondary schools based on the concept of disruptive innovators was “Ecological School Management Innovation Enhancing Disruptive Innovators” comprising 5.1) organizational philosophy management innovation which consisted of (1) creating a culture of thinking and doing outside the box (2) engaging with Massively Transformative Purpose and (3) utilizing ecologically collective leadership 5.2) school biotic management Innovation which consisted of (1) developing pro-active learners (2) changing teachers as coaches and learning facilitators and (3) developing school administrators as change leaders and 5.3) school abiotic management innovation which consisted of (1) developing discovery competency-based curriculum (2) supporting learning resources for developing discovery competency and (3) organizing organically organizational structure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84127 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6281032427.pdf | 12.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.