Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84196
Title: | การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครอง ในสังคมยุคดิจิทัล |
Other Titles: | In-depth analysis to prevent spouse conflicts in the digital society era |
Authors: | ไวพจน์ กุลาชัย |
Advisors: | สุมนทิพย์ จิตสว่าง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อป้องกันการเกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในสังคมยุคดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล (2) ศึกษาประเภทของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล (3) ศึกษาผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล และ (4) เสนอแนะแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในยุคดิจิทัล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นคู่ครองจำนวน 13 คู่ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (analytic induction) ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีทำให้การใช้ชีวิตคู่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมแบบเก่าทำให้การทำงานและชีวิตส่วนตัวเกิดความผูกพันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เทคโนโลยีอาจสร้างความห่างเหินต่อชีวิตคู่ ซึ่งส่งผลต่อความขัดแย้งระหว่างคู่ครองและปัญหาอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความขัดแย้งระหว่างคู่ครองประกอบด้วยปัจจัยเรียงตามลำดับความสำคัญ 12 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัจจัยด้านความแตกต่างในมุมมองหรือทัศนคติ ปัจจัยด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านการนอกใจ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูบุตร ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยด้านครอบครัวและเครือญาติของคู่ครอง ปัจจัยด้านเวลาและการจัดการชีวิตประจำวัน ปัจจัยความแตกต่างด้านอายุ ปัจจัยด้านความมีระเบียบและวินัย และปัจจัยด้านการแต่งกาย โดยสามารถจำแนกประเภทของความขัดแย้งระหว่างคู่ครองได้ 5 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งด้านพฤติกรรมและทัศนคติ ความขัดแย้งทางด้านการเงิน ความขัดแย้งทางด้านเพศ ความขัดแย้งด้านการเลี้ยงดูบุตร และความขัดแย้งทางด้านการแบ่งงานกันทำ นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังพบว่า ความขัดแย้งระหว่างคู่ครองส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ผลกระทบต่อความรุนแรงในครอบครัว ผลกระทบทางด้านร่างกาย ผลกระทบต่อลูก ผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ผลกระทบด้านสังคม และผลกระทบด้านความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองในเชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วย การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ ปรับตัวและยอมรับกัน การจัดการทางอารมณ์ การสร้างบรรยากาศที่ดี การสร้างฐานะทางการเงิน การมีส่วนร่วมในงานบ้าน และการมีกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะทำให้ครอบครัวสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคู่ครองควรมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น แอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการสื่อสารและจัดการความขัดแย้งระหว่างค่าครอง มาช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายที่ดำเนินการโดยภาครัฐ |
Other Abstract: | The research study titled "In-depth analysis to prevent spouse conflicts in the digital society era" aims to (1) investigate the factors leading to conflicts between couples in the digital era, (2) explore the types of conflicts prevalent among couples in this digital age, (3) examine the impacts of these conflicts, and (4) propose strategies for preventing and resolving spouse conflicts in the digital era. This qualitative research involved gathering data from 13 couples through in-depth interviews and conducting data analysis using the analytic induction method. The study found that technological advancements have altered the dynamics of relationships, shifting away from traditional societal norms. This change has resulted in work and personal life becoming intertwined, making it challenging to separate the two. Technology might create distance within relationships, leading to conflicts between partners and new forms of criminal behavior. In addition, 12 significant factors contributing to couple conflicts, including economic factors, technological changes, differences in perspectives or attitudes, communication issues, infidelity, childcare-related factors, alcohol-related behaviors, family and relatives' influences, time management, age differences, discipline-related aspects, and attire-related matters. Moreover, the study identified five prevalent types of spouse conflicts, namely behavior and attitude conflicts, financial conflicts, sexual conflicts, childcare conflicts, and conflicts related to task distribution. Additionally, it highlighted various impacts of spouse conflicts on mental, physical, social, and relational aspects. Lastly, the research provided constructive approaches for addressing spouse conflicts, such as effective communication, learning & adaptation, emotional management, fostering a positive atmosphere, financial stability, shared household responsibilities, and engaging in joint activities, aiming to sustain long-term family harmony. Therefore, resolving conflicts between couples should involve the integration of modern technologies, such as applications aiding communication and conflict resolution between partners, alongside policy-based solutions implemented by the government to address these issues. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84196 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6081370124.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.