Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8438
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตลัดดา ดีโรจนวงศ์-
dc.contributor.advisorอิศรางค์ นุชประยูร-
dc.contributor.authorศรัยอร ธงอินเนตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-11-12T09:50:09Z-
dc.date.available2008-11-12T09:50:09Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741432445-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8438-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กระยะ สุดท้าย และความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย ของฝ่าย กุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงวิเคราะห์ สถานที่ศึกษา ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร มี 3 กลุ่ม 1. อาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำ บ้านต่อยอด และแพทย์ประจำบ้าน ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2. พยาบาลประจำหอผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 3. ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กที่เข้า โครงการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เสียชีวิตแล้ว วิธีศึกษา รวบรวมความคิดเห็นของแพทย์ พยาบาล เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของแพทย์และ พยาบาลในด้านความสนใจ ความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย และทักษะในการสื่อสาร ต่างๆ ได้แก่ การแจ้งข่าวร้าย การให้คำปรึกษากับญาติของผู้ป่วย รวมทั้งความลำบากใจในการให้ ยาระงับปวด แล้วนำคะแนนความคิดเห็นมาวิเคราะห์โดยใช้ rating scale และหาค่าร้อยละของคะแนน ความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มประชากรในแต่ละคำถาม จากนั้นใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ Dunnet T3 ในการหาความแตกต่างของกลุ่มประชากรในแต่ละคำถาม ส่วนความพึงพอใจของ ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และสอบถามเกี่ยวกับความพึง พอใจต่อการสื่อสาร คุณภาพการรักษา การให้ข้อมูลของแพทย์และพยาบาล และการวางแผน การรักษา แล้วนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองมาหาค่าร้อยละความพึงพอใจ ผลการศึกษา แพทย์และพยาบาลมีความสนใจใน palliative treatment ค่อนข้างมาก โดยร้อยละ 75.6 มีความสนใจ ในระดับมากถึงมากที่สุด ในด้านการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายทั้งแพทย์และพยาบาลมากกว่า ร้อยละ 50 ยังคงมีความกังวลใจในการดูแลผู้ป่วย การให้ยาระงับปวดเป็นหัวข้อเดียวในการศึกษานี้ ที่พบว่าแพทย์และพยาบาลมีปัญหาค่อนข้างน้อย อายุ เพศ อาชีพ และประสบการณ์การทำงาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในด้านความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในการศึกษานี้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการรักษาที่ ได้รับ รวมถึงพอใจในคุณภาพของข้อมูลวิธีการสื่อสารของแพทย์และทีมงาน รวมทั้งการวางแผน การรักษา แต่ยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 40 ไม่พอใจในการช่วยประคับประคองสภาพจิตใจ ที่บุตรและครอบครัวได้รับ ผลสรุป แพทย์และพยาบาลมีความสนใจใน palliative treatment ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่ยังคงมีความกังวลใจในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การให้ยาระงับปวดเป็นหัวข้อเดียวในการศึกษานี้ที่พบว่าแพทย์และพยาบาลมีปัญหาค่อนข้างน้อย ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายที่เข้าร่วมโครงการการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการศึกษานี้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการรักษาที่ได้รับ รวมถึงพอใจในคุณภาพของข้อมูล วิธีการสื่อสารของแพทย์และทีมงานและการวางแผนการรักษาen
dc.description.abstractalternativeObjective : To determine the attitudes of pediatric physicians and nurses on palliative care. And to assess family needs regarding pediatric palliative care in department of pediatrics, King Chulalongkorn memorial hospital. Method : Ninty-nine pediatric physicians and ninty-nine nurses responded to written survey regarding interesting, comfort and expertise to palliative care. Twenty family members of decreased end-stage children were interviewed regarding treatment, doctor-patients communication and support. Frequencies were generated for response to pediatric physicians, nurses and family members. Factors of particular attitudes of pediatric physicians and nurses were identified using Mann-Whitney U test, and Dunnet T3. Potential factors were age, sex, occupations, amount of time spent in pediatric patient care, average number of end-stage patient care per year. Result : The majority of physicians and nurses reported interesting in palliative care (75.6%). They also reported discomfort and inexpertise in caring of end-stage patients (is more than 50%) . Pain control is the only topic that most staff members reported no difficult experience. Age, sex, occupation and experience (amount of time spent in pediatric patient care) are factors of attitudes in palliative care. Family reported satification in palliative care, included treatment and communication, they and their children received. But 40% of families reported distress caused by less psychological support. Conclusion : Pediatric physicians and nurses are interested in palliative care but they still feel discomfort and inexpertise in caring of end-stage patients. Pain control is the only topic that they feel experience in management. Most of families are satisfied in palliative care, included treatment and communication, they and their children received.en
dc.format.extent5772589 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ป่วยเด็กen
dc.subjectผู้ป่วยใกล้ตายen
dc.subjectการรักษาเพื่อบรรเทาอาการen
dc.subjectโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.titleความคิดเห็นของแพทย์ พยาบาล และผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeHospital staff and family perspectives regarding quality of pediatric palliative care in department of pediatrics, King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineกุมารเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorjitladda@hotmail.com-
dc.email.advisorIssarang.N@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saraiorn.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.