Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8490
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทนา คชเสนี-
dc.contributor.advisorปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์-
dc.contributor.authorนวลปราง นวลอุไร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-12-02T04:26:01Z-
dc.date.available2008-12-02T04:26:01Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741419392-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8490-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศักยภาพการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเมินจากมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน โดยวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก (DBH) มากกว่า 4.5 ซม. ขึ้นไป ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงของต้นไม้ (D-H relation) ในการประเมินความสูงของต้นไม้ คำนวณมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่า โดยใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric equation) ปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดินมีค่าเป็น 0.5 เท่าของมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดิน ผลการศึกษาจากแปลงขนาด 30x30 ตร.ม. จำนวน 9, 16, 50 และ 10 แปลง ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ตามลำดับ พบว่า ป่าดินขึ้นมีปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดินสูงที่สุด 168.04+-107.88 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ ในขณะที่ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดิน 103.85+-61.32, 34.26+-24.18 และ 29.31+-9.17 ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ การประมาณค่าดัชนีพื้นที่ใบ มวลชีวภาพ และปริมาณคาร์บอนสะสมที่อยู่เหนือพื้นดินจากการรับรู้จากระยะไกล ศึกษาโดยใช้ข้อมูลดาวเทียม การวางตำแหน่งแปลงตัวอย่างใช้เทคนิค GPS (Global positioning system) ค่าพิกัดตำแหน่งของแปลงตัวอย่างได้จากการแปลงค่าพิกัดจุดภาพของข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat TM ที่นำมาหาค่าความส่องสว่าง (Brightness values) เพื่อใช้เป็นดัชนีพืชพรรณในรูปแบบต่างๆ ข้อมูลที่ได้ทั้งจากภาคสนาม และข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat TM นำมาหาความสัมพันธ์กันในรูปแบบของสมการความถดถอยแบบเส้นตรง ผลการศึกษาปรากฏว่าเมื่อกำหนดให้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นตัวแปรอิสระ และข้อมูลจากภาคสนามเป็นตัวแปรตาม ได้ค่าดัชนีพื้นที่ใบและมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดิน จากรูปแบบสาการที่ดีที่สุดของป่าแต่ละชนิดดังนี้ ป่าดิบชื้น มีค่าดัชนีพื้นที่ใบโดยเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 7.68 รองลงมาได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.81, 3.38 และ 3.27 ตามลำดับ ขณะที่มวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดิน ป่าดิบชื้น มีค่าโดยเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 336.12 ตัน/เฮกแตร์ รองลงมาได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 207.70, 68.53 และ 58.63 ตัน/เฮกแตร์ ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการศึกษา เปรียบเทียบค่าดัชนีพื้นที่ใบ มวลชีวภาพ และปริมาณคาร์บอนสะสมที่อยู่เหนือพื้นดิน จากการสำรวจด้านป่าไม้กับการรับรู้จากระยะไกล พบว่ามีค่าเท่ากัน จึงเกอดประโยชน์อย่างยิ่งต่อไปในอนาคต โดยการประเมินค่าทั้งสองของผืนป่าตะวันตกของประเทศจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมen
dc.description.abstractalternativeCarbon sequestration potential in aboveground biomass of dry dipterocarp forest, mixed deciduous forest, dry evergreen forest and moist evergreen forest at Kaeng Krachan National Park was estimated from aboveground biomass by forest inventory, tree diameter at breast height (DBH) more than 4.5 cm. The relationships between tree diameter and tree height (H-H relation) were used to evaluate tree height. Above-ground biomass of the forests was estimated by allometric equations. Above-ground carbon sequestration was calculated by multiplying conversion factor as 0.5 of biomass. The results from nine, sixteen, fifty and and ten of 30x30 sq.m. sampling plots in dry dipterocarp forest, mixed deciduous forest, dry evergreen forest and moist evergreen forest respectively reveal that the highest above-ground carbon sequestration was accounted in moist evergreen forest as 168.04+-107.88 tonne C/ha. While above-ground carbon sequestration in dry evergreen forest, are mixed deciduous forest 103.85+-61.32 tonne C/ha, 34.26+-24.18 tonne C/ha. and dry dipterocarp forest and 29.31+-9.17, respectively. The objective of this study is to apply remote sensing to estimate the leaf area index (LAI) above-ground biomass (AGB) and carbon sequestration (CS) of various forest type at Kaeng Krachan National Park. To position the sampling plots, global positioning system (GPS) was used. The pixel coordinated of Landsat TM image that corresponded to the plot location were identified to determine the brightness values. Regression analysis was used to investigate the relationship between the observed data from field and digital data from the satellite image. A number of fitted regression equation were derived. Based on the best equations, the LAI and above-ground biomass of each forest type were estimated and described. The LAI of moist evergreen forest (7.68) was the highest value compared to the other forest types. The LAI of dry evergreen forest, dry dipterocarp forest and mixed deciduous forest were 5.81, 3.38 and 3.27, respectively. In addition to the LAI, the estimation of above-ground biomass of moist evergreen forest, dry evergreen forest, mixed deciduous forest and dry dipterocarp forest were 336.12, 207.70, 68.53 and 58.63 ton/ha, respectively. Moreover the results of comparison of LAI, above-ground biomass and above-ground carbon sequeatration indicate equally which would be highly benefit to estimate all values of Western forest of Thailand in the future.en
dc.format.extent2458601 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปรากฏการณ์เรือนกระจกen
dc.subjectดัชนีพื้นที่ใบen
dc.subjectป่าไม้ -- ไทยen
dc.subjectชีวมวลen
dc.subjectการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ -- การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลen
dc.subjectนิเวศวิทยาป่าไม้en
dc.subjectอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานen
dc.titleการเปรียบเทียบค่าดัชนีพื้นที่ใบ มวลชีวภาพและปริมาณคาร์บอนสะสมที่อยู่เหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่า จากการสำรวจด้านป่าไม้และการรับรู้จากระยะไกลบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทยen
dc.title.alternativeComparison of leaf area index, above-ground biomass and carbon sequestration of forest ecosystems by forest inventory and remote sensing at Kaeng Krachan National Park, Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสัตววิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornuntan.g@chula.ac.th-
dc.email.advisorenptt@mahidol.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuanprang.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.