Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/864
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-
dc.contributor.authorนันทสิทธิ์ กิตติวรากูล, 2520--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2006-07-19T02:10:51Z-
dc.date.available2006-07-19T02:10:51Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741704844-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/864-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ลักษณะการสร้างสรรค์ของศิลปินเพลงไทยแนวดนตรีโปรเกรสสีฟร็อค โดยใช้แนวคิดชาติพันธุ์ดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) ในการศึกษาถึงกระบวนการต่างๆ ที่ชักนำไปสู่การสร้างสรรค์ดนตรีของศิลปิน จำนวน 9 คน และศึกษาจากบทเพลงโปรเกรสสีฟร็อค จำนวน 15 อัลบั้ม วัตถุประสงค์ในการวิจัย มีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของศิลปินดนตรีแนวโปรเกรสสีฟร็อค 2. เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์งานดนตรีของศิลปินแนวโปรเกรสสีฟร็อคในสังคมไทย 3. เพื่อศึกษาแนวโน้มดนตรีแนวโปรเกรสสีฟร็อคในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. ศิลปินทุกคนมีภูมิหลังด้านดนตรีที่แตกต่างกัน โดยได้รับอิทธิพลดนตรีจากครอบครัวเป็นพื้นฐาน แนวดนตรีที่ฟังมีหลากหลายแนว เช่น ป๊อป ร็อค คลาสสิค เพลงลูกทุ่ง และไทยสากล แต่ดนตรีที่ก่อให้เกิดจุดหักเหมาสู่การสร้างสรรค์งานโปรเกรสสีฟร็อค คือแนวร็อค และโปรเกรสสีฟร็อคตะวันตกในช่วง ค.ศ. 1960-1970 2. การสร้างสรรค์งานดนตรีของศิลปินโปรเกรสสีฟร็อค มีลักษณะที่สำคัญๆ คือ ศิลปินส่วนใหญ่มีประสบการณ์ด้านดนตรีมานานก่อนที่จะผลิตงานเผยแพร่สู่สังคม ศิลปินมีเจตนาและความตั้งใจในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ดนตรีที่หลากหลาย และนำมาผสมผสานเป็นแนวโปรเกรสสีฟร็อคที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทำให้ดนตรีโปรเกรสสีฟร็อคของศิลปินกลุ่มนี้มีกลิ่นอายของดนตรีตะวันตกและตะวันออกอยู่ในผลงาน นอกจากนี้ ศิลปินทุกคนยังมีบุคลิกพิเศษที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นผู้ที่ช่างอ่าน ช่างสังเกตเกี่ยวกับชีวิตและสังคมรอบตัว รักในงานศิลปะหลายแขนง อย่างไรก็ดี ศิลปินทุกคนพบว่าอุปสรรคใหญ่ในการสร้างสรรค์งาน คือเรื่องเงินทุนในการผลิตและระบบการเผยแพร่ดนตรีที่กีดกั้นศิลปินอิสระ 3. ศิลปินมีแนวทางในการสร้างสรรค์งาน 2 รูปแบบ คือกลุ่มที่มุ่งเน้นด้านสุนทรียภาพของดนตรีในแนวศิลปะเพื่อศิลปะ และกลุ่มที่มุ่งเน้นด้านสะท้อนและปลุกจิตสำนึกสังคมในแนวศิลปะเพื่อชีวิต 4. ดนตรีโปรเกรสสีฟร็อคในสังคมไทยขาดความต่อเนื่องเพราะศิลปินมีอุปสรรคในด้านเงินทุน จนไม่อาจออกผลงานอย่างต่อเนื่องได้ ส่งผลให้คนฟังส่วนมาก ไม่รู้จักและไม่สนใจ จนกลายเป็นกลุ่มตลาดขนาดเล็ก ในสายตาของบริษัทผลิตเพลง ทำให้บริษัทผลิตเพลงไม่สนใจที่จะสนับสนุนศิลปิน แนวโน้มของดนตรีโปรเกรสสีฟร็อคในอนาคตจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. สังคมให้การยอมรับอาชีพดนตรี และคนรุ่นใหม่มุ่งสู่การศึกษาและสร้างอาชีพดนตรีอย่างจริงจังมากขึ้น 2. เทคโนโลยีการผลิตดนตรีระบบดิจิตอลและการเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้ศิลปินหน้าใหม่แจ้งเกิดได้ และศิลปินสามารถทำอย่างอิสระบนพื้นที่ของตน 3.กลุ่มผู้ฟังดนตรีที่เปิดใจกว้างและแสวงหาแนวดนตรีใหม่ ๆ อยู่เสมอen
dc.description.abstractalternativeThe research objectives of the study are; 1. to study the biography of Thai progressive rock artists 2. to study the creative style of these artists 3. to study the future trend of progressive rock music. The study on the creative style of Thai progressive rock artists employed ethnomusicology as its basic framework by interviewing and observing 9 progressive rock artists. Fifteen albums were selected for analysis. The research found that the background on music listening of this group of Thai progressive rock artists was, basically, influenced by their families. They listened to a variety of music genres such as Western pop and rock, classical music, Thai folk (Luktoong) and Thai pop and rock music. The turning point towards progressive rock was derived from the music of Western rock and progressive rock artists of the 1960s-1970s such as the Beatles, Genesis, Pink Floyd. Thai progressive rock artists created their music at around the age of 30 when they have accumulated sufficient foundation on music andsocial experiences. Their music has a distinctive style based on their broad-minded view on music. They created, in each of his/her unique style, a combination of Western and Thai/Eastern sound that became the core of Thai progressive rock. All of the artists love to read and to explore a diversity of artistic works. They were keen observant of the lives and society around them. Artists found that the major obstacles to their creative works were the lack of funds for music production and the limitation of distribution channel which hindered their independence. The creative styles in the albums studied are divided into 2 groups; one in which aesthetics is emphasized or the Arts for Art school, and one in which the reflection on life and society is emphasized or the Arts for Life school. In addition, the progressive rock music audience in Thai society has been kept small due to the vicious cycles in the production and distribution in the mainstream music industry which prohibited young and independent music artists to emerge and establish themselves. The future development of Thai progressive rock music is depended upon the following conditions; social acceptance of the music as a profession which would open the way for serious music education and professional development, new production and distribution technologies such as digital studio and the internet which would provide the space for independent artists to communicate with their audience, and an open-minded society that would continue to explore new music in a diversified style.en
dc.format.extent3936672 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.459-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectดนตรีโพรเกรสสีฟร็อก--ไทยen
dc.subjectนักดนตรีโพรเกรสสีฟร็อกen
dc.titleการวิเคราะห์ลักษณะการสร้างสรรค์ของศิลปินเพลงแนวดนตรีโปรเกรสสีฟร็อคen
dc.title.alternativeAn analysis of the creative style of Thai progressive rock artistsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUbonrat.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.459-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantasit.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.