Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8988
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล-
dc.contributor.authorนิธิพร มีลาภ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialลพบุรี-
dc.date.accessioned2009-06-10T10:07:51Z-
dc.date.available2009-06-10T10:07:51Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741313624-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8988-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน ความสัมพันธ์ ทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ของชุมชนแออัดในเมืองลพบุรี ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการตั้งถิ่นฐาน รวมถึงหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนแออัดในเมืองประวัติศาสตร์ลพบุรี การศึกษาใช้วิธีสำรวจภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยวิธีสัมภาษณ์ที่ใช้แบบสอบถาม มีการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าชุมชนและชาวชุมชนแออัด ทั้งในบริเวณเมืองเก่าและนอกเมืองเก่าลพบุรี เมื่อสรุปสภาพปัญหาที่เป็นอยู่แล้ว จึงวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาในเชิงพื้นที่ โดยวิธีหาศักยภาพพื้นที่ให้ค่าน้ำหนักมากที่สุดต่อปัจจัยทางด้านกายภาพ รองลงมาคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลของการศึกษา พบว่าการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแออัดในเมืองลพบุรี เกิดขึ้นในช่วงการพัฒนาเมืองเพื่อบทบาททางการทหาร ขยายเมืองใหม่ออกไปทางทิศตะวันออก เกิดการจ้างงาน จึงพบการกระจายตัวของแหล่งที่พักอาศัยชุมชนแออัดใกล้แหล่งงานในเมืองและรุกล้ำเข้าไปในบริเวณแหล่งโบราณสถานที่สำคัญ ส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และปัญหาการถือครองกรรมสิทธิที่ดิน เมื่อพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชน ความเกี่ยวข้องกับกลไกทางกฎหมาย ความสำคัญของแหล่งโบราณสถาน รวมถึงแผนพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองลพบุรี จึงเสนอความร่วมมือในระดับต่างๆ คือระดับชุมชน ระดับเมือง และระดับชาติ และเสนอแนะแนวทางแก้ไข เชิงกายภาพประสานกับแนวทางการแก้ไขในเชิงเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนสร้างกรอบความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 แนวทางด้วยกันดังนี้ (1) แนวทางการควบคุมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน สำหรับชุมชนแออัดที่มีลักษณะบุกรุกโบราณสถานและอยู่ในเขตของการควบคุมทางกฎหมายบางส่วน (2) แนวทางปรับปรุงสภาพชุมชนใหม่ สำหรับชุมชนแออัดที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและนอกชุมชน (3) แนวทางการควบคุมและรื้อย้ายสำหรับชุมชนแออัดที่บุกรุกองค์ประกอบโบราณสถานที่สำคัญ และอยู่ในเขตการควบคุมทางกฎหมายทั้งหมดen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study settlement parterns and physical, economic and social interralationship of slums and to find out the settlement problems and their causes as well as factors relating to development in order to recommend development guidelines for slums in Lopburi histoical town. The study employs survey research to collect data on existing conditions and socio-economic characteristics through structured interview using questionnaires. Sampling are drawn from target groups, i.e., acadamicians, related government officials, community leaders, and slum dwellers inside and outside the historical town. Spatial development potential analysis is made in order to determine spatial development guidelines by giving highest weighting to physical factors, and next, to economic and social factors, respectively. Research results show that slum settlements originated during the town development period to become a military town, resulting in eastward expansion of the town and generating new employments which drew slum settlements into the town, some of which invaded important archeological places, thus creating environmental degradation and right of land problems. Having considered community socio-economic factors, related laws, importance of archeological places and tourism development plans, all of which lead to economic development of Lopburi historical town, 3 development guidelines requiring collaborations among related government offices and local participation are recommended; (1) Slum reblocking for slums that invade archeological places and partially controlled by law; (2) Slum reconstruction for degrading slums that downgrade environmental condition and outside the community; and (3) Slum relocation for slums that invade archeological places and are entirely controlled by law.en
dc.format.extent9765985 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.130-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชุมชนแออัด -- ไทย -- ลพบุรีen
dc.subjectการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ -- ไทย -- ลพบุรีen
dc.titleแนวทางการพัฒนาชุมชนแออัดในเมืองประวัติศาสตร์ลพบุรีen
dc.title.alternativeThe development guidelines for slums in Lopburi historical townen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDaranee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.130-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitiporn.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.