Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9046
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุล-
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์-
dc.contributor.authorดารารัตน์ เตชะกมลสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-06-12T02:07:48Z-
dc.date.available2009-06-12T02:07:48Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743466002-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9046-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractอาการปวด/ปวดเมื่อยเป็นอาการที่พบแรกเริ่มเมื่อมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระดูก และข้อซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานในสภาพแวดล้อมหรือสภาพการทำงานที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความผิดปกตินั้น โดยความผิดปกติดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นปัญหาที่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง และระบบสาธารณสุขโดยรวม จากค่ารักษาพยาบาล การสูญเสียเวลาในการทำงาน และค่าชดเชยการเจ็บป่วยจากการทำงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอัตราความชุกของอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด/ปวดเมื่อยกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คุณลักษณะบุคคล ปัจจัยจิตวิทยาสังคม ปัจจัยสภาพแวดล้อมในงาน ปัจจัยการจัดรูปงาน และการจัดองค์กรการทำงาน และปัจจัยท่าทางการเคลื่อนไหวในงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานสายงานผลิตโรงงานตลับเทป 1 แห่ง ส่งแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ตอบด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 314 ฉบับ จากทั้งหมด 342 ฉบับ (91.8%) และใช้การสังเกตที่งานพิจารณาท่าทางการเคลื่อนไหวในงาน โดยผู้สังเกตที่ได้รับการฝึกอบรม 4 คน แบบสอบถามที่ตอบกลับมีความสมบูรณ์ใช้วิเคราะห์ได้ร้อยละ 96.8 (304 ฉบับ) จากแบบสอบถาม 314 ฉบับ เป็นเพศชาย 29 คน เพศหญิง 275 คน (ชาย:หญิง = 1:9) ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของอาการปวด/ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างน้อย 1 จุดใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับ 85.9 ต่อ 100 ประชากร (95% CI:82, 89.8) โดยมีอาการปวด/ปวดเมื่อยมากที่สุดที่บริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 24.9 หลังส่วนบน ร้อยละ 14.2 และไหล่ร้อยละ 13.4 ในรอบระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา มีอาการปวดที่บริเวณหลังส่วนล่างร้อยละ 39.1, ไหล่ร้อยละ 36.2 และหลังส่วนบนร้อยละ 35.2 และอาการปวด/ปวดเมื่อยมีความสัมพันธ์กับความพอใจในงาน, สภาพแวดล้อมในงานและการจัดรูปงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่น การนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง, ความเร็วที่มากเกินไปในการทำงานและท่าทางการทำงานที่มีการขยับข้อมือบ่อยๆ และมีการก้มคอบ่อยครั้ง นอกจากนี้การทำงานที่อยู่ในท่าทางการนั่งหลังตรง หรือนั่งก้มหลังมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชั่วโมงต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอาการปวด/ปวดเมื่อยที่บริเวณหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value<0.05 ในขณะที่อาการปวด/ปวดเมื่อยบริเวณหลังส่วนบนมีความสัมพันธ์กับการทำงานในท่าทางนั่งก้มหลังเป็นระยะเวลาเท่ากับ หรือมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันเช่นกัน จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึงขนาดของปัญหาและปัจจัยเกี่ยวข้องนำมาใช้ในการปรับปรุงสภาพการทำงานโดยใช้ต้นทุนต่ำหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยเพื่อสุขภาพที่ดีของคนงานได้en
dc.description.abstractalternativePain or aching often are earlier symptoms of musculoskeletal disorders and always associated with working condition. Incidence of work-related musculoskeletal disorders has been increasing in recent years and become a major management problem due to economics loss both individuals and governments. The main objectives of this research were to study the prevalence of musculoskeletal symptoms and their relationship with personal factors, psychosocial factors, working environments, working organizations, work posture and movements. This study was a descriptive one. The study population was product workers in an audio compact cassette plant. All 342 product workers were asked to complete self-administered questionnaires, and were observed for work posture and movement by 4 trained observers. Three hundred and fourteen questionnaires were returned. Overall response rate was 91.8% (314 out of 342). The returned questionnaires were 96.8% (304 out of 314) complete. There were 29 males and 275 females. The calculated prevalence rate of musculoskeletal symptoms during one week prior to answering the questionnaires was 85.9 per 100 population (95% CI:82,89.9). During one week prior to answering the questionnaires, 24.9%, 14.2%, and 13.4% of the subjects reported having pain at low back, upper back and shoulder, respectively. During 12 months prior to answering the questionnaires, 39.1%, 36.2%, and 35.2% of the subjects reported having pain at low back, shoulder and upper back, respectively. Factors associated significantly with pain were work satisfaction in the company, working environment, work organization, and some working movements, e.g., wrist flexion and neck flexion. Moreover, low back pain was significantly associated with some prolonged activities (>/= 3 hours) such as back straight sitting and bending, and upper back pain with sitting with prolonged (>/= 3 hours) back bending (p-value<0.05). High prevalence of pain or aching indicated the need for primary prevention of work related musculoskeletal disorders such as application of ergonomics by setting up a good relationship among men, tools/machines and working environment.en
dc.format.extent5179697 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเออร์โกโนมิกส์en
dc.subjectระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก -- โรคen
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อen
dc.subjectความเจ็บปวดen
dc.subjectกระดูกและข้ออักเสบen
dc.titleความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลับเทปแห่งหนึ่งen
dc.title.alternativePrevalence and related factors of musculoskeletal symptoms in an audio compact cassette plant's workersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornchai.Si@Chula.ac.th-
dc.email.advisorfmedslm@md2.md.chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dararat.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.