Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9111
Title: การพัฒนารูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: The development of community education models for sustainable development
Authors: ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
สุริชัย หวันแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: chanita.r@chula.ac.th
Surichai.W@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาแบบยั่งยืน
การศึกษาชุมชน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดในเชิงโครงสร้างหน้าที่นิยม วิเคราะห์รูปแบบการศึกษาชุมชน ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเอกสารโครงการการศึกษาชุมชน 6 โครงการ และการวิจัยภาคสนาม ในชุมชน 2 แห่ง ข้อมูลการวิจัยภาคสนามรวบรวมโดยการใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โครงการการศึกษาชุมชนที่วิเคราะห์ได้รับการตรวจสอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการศึกษาชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัญหาการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชน เป็นปัญหาที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ชุมชนในฐานะระบบสังคมเสียดุลยภาพ โครงการการศึกษาชุมชนได้ถูกนำมาใช้เป็นวิถีทางในการแก้ปัญหา โครงการดังกล่าวเสริมสร้างบูรณาการในชุมชน โดยการให้มีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนและจัดการ เป้าหมายของโครงการคือการแก้ปัญหาชุมชน และมุ่งหมายให้สมาชิกส่วนใหญ่ในชุมชนได้รับประโยชน์จากโครงการ 2. รูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบอิงชุมชนที่ชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม และรูปแบบอิงสถาบันซึ่งหน่วยงานภายนอกเป็นผู้ริเริ่ม รูปแบบที่ชุมชนเป็นผู้ริเริ่ม เป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับชุมชน ที่มีผู้นำที่เข้มแข็งและมีศักยภาพพื้นฐาน รูปแบบนี้เน้นแนวคิดการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วมและการใช้ทรัพยากร ตลอดจนภูมิปัญญาภายในชุมชน โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยชุมชนเอง และมีเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถของสมาชิก เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบ ที่หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ริเริ่ม เป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับชุมชน ที่ประสบปัญหาเกินขอบเขตความสามารถของชุมชน การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก เป็นต้นว่า องค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานรัฐ หรือโครงการในพระราชดำริ อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมการศึกษาในโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะสร้างการมีส่วนร่วม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และศักยภาพของสมาชิก เพื่อให้แก้ปัญหาของชุมชนได้เองเช่นกัน
Other Abstract: To analyze and developo community education models for sustainable development. Structural-Functionalism concepts were applied as guidelines for analyzing the collected data obtained from document study of selected 6 community education programs and field research in 2 communities. Focus-group discussion, in-depth interview and non-participatory observation were employed. Using expert judgement, the community education models for sustainable development were examined and proposed. Research findings were as follows 1. Unsustainable development in the communities was the result of environmental problems affected by economic and social development. The communities, as a social system, lost equilibrium and adapted themselves by prioritizing community education programs as means to solve the problems. The programs enhanced social integration through community participation in planning and management. Solving the environmental problems and benefits of the community-at-large were set as goals of the education programs. 2. The community education programs for sustainable development might be developed in 2 models; namely, the community-based model and the institution-based model. The community-based model was utilized in the community which had strong leadership and some degree of potentialities. This model emphasized self-reliance method with the use of community participation, local resources and wisdom. Community-initiated education programs aimed at developing community members' learning skills and abilities in solving unsustainable development problems. The institution-based model was employed in the community where the scope of existing problems were far beyond the abilities of its members. In order to solve the problems, the community needed assistance from outside. Recognized authorities such as international organizations, government agencies and the Office of the Royal Development Projects initiated community programs in which education activities also encouraged learning process, abilities, and participation of the local members with the hope that they would have sufficient potentials for solving community problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9111
ISBN: 9741312032
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyosh.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.