Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9194
Title: การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการผลิตสำหรับกระบวนการผสมยาง ในอุตสาหกรรมผลิตยางรถ
Other Titles: Process quality assurance development for compound mixing in the tyre manufacturing industry
Authors: สาโรช บัวบูชา
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Damrong.T@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมยางรถ -- การควบคุมการผลิต
อุตสาหกรรมยางรถ -- การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาตัวแปรต่างๆ ที่มีผลกระทบกับคุณภาพยางผสมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตยางผสมในอุตสาหกรรมผลิตยางรถ เพื่อให้กระบวนการมียางเสียลดลง จากการศึกษาพบว่าโรงงานตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์ยางผสมเสียอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงทั้งนี้เนื่องมาจาก 1. ยังไม่มีการจัดตั้งระบบการประกันคุณภาพ 2. ขาดการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคทางวิศวกรรมคุณภาพ 3. ขาดระบบการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตที่ดี 4. ยังไม่มีกิจกรรมการประกันคุณภาพของกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ 5. เกิดปัญหาคุณภาพในกระบวนการผสมยางที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอระบบการประกันคุณภาพในกระบวนการผสมยาง ดังนี้คือ 1. การวิเคราะห์หาข้อบกพร่องและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพ 2. การวิเคราะห์ข้อบกพร่องที่มีโอกาสจะเกิดจากการประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมคุณภาพที่เรียกว่า การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบในกระบวนการ 3. การวิเคราะห์และเสนอการประยุกต์ใช้หลักสถิติในการควบคุมคุณภาพ 4. การเริ่มจัดตั้งระบบการวัดและสอบเทียบ 5. การจัดตั้งโปรแกรมการตรวจติดตาม และการสำรวจคุณภาพของกระบวนการผสมยาง หลังจากนำระบบประกันคุณภาพในกระบวนการผสมยางและเทคนิคที่เสนอ ไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตพบว่า มียางเสียคุณภาพต่ำใช้งานไม่ได้ลดลง 28.9 เปอร์เซ็นต์ ยางเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ลดลง 8.4 เปอร์เซ็นต์ และยางเสียส่งคืนจากกระบวนการถัดไปลดลง 17.2 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The objective of this research is to study and analyze factors effecting compound quality problem and develop the appropiate process quality assurance for compound mixing in the model tyre factory and also find the way to reduce and prevent nonconforming compounds which have been generated during compound mixing process. Regarding to data from mixing process, the causes of nonconforming compounds are as follows: 1. Quality assurance system not yet set up. 2. Lack of tools and techniques for quality engineering. 3. Lack of effective quality control. 4. Ineffective process quality assurance activities. 5. No tools for solving quality problems. This research presents the effective process quality assurance in compound mixing process for tyre manufacturing as shown below: 1. Analysis of failure and factors effect on quality problem. 2. Application of Process Failure Mode and Effect Analysis, PFMEA. 3. Analysis and proposal of statistical quality control technique for in process quality control. 4. Process for setting up of measurement system and calibration begun. 5. Design and set up of process quality audit. After implementing the propose process quality assurance system into compound mixing process, the scrapped compound was reduced by 28.9 percents. The reworked compound was reduced by 8.4 percents and returned and complainted compound by the next process was reduced by 17.2 percents.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9194
ISBN: 9746398601
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saroach_Bu_front.pdf632.09 kBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch1.pdf431.82 kBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch3.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch4.pdf439.59 kBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch5.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch6.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_ch7.pdf618.83 kBAdobe PDFView/Open
Saroach_Bu_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.