Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9332
Title: การวิเคราะห์การอยู่รอดของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แบบเรื้อรังในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Survival analysis of chronic hepatitis B virus infection in Chulalongkorn Hospital
Authors: วิภากร ชูแสง
Advisors: วโรชา มหาชัย
นุสนธิ์ กลัดเจริญ
พินิจ กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fmedvmc@md.chula.ac.th, vmahachai@chula.com
ไม่มีข้อมูล
Pinit.K@Chula.ac.th
Subjects: ไวรัสตับอักเสบบี
ตับอักเสบบี
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ในกลุ่มที่เป็น carrier, chronic hepatitis และ cirrhosis วิธีการวิจัย: ค้นหารายชื่อผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากสมุดบันทึกการตรวจ HbsAg ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2539 จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ทั้งหมดจำนวน 5,520 คน เพื่อไปหาหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยและประวัติผู้ป่วย ได้ประวัติมาศึกษาทั้งหมด 1,213 เล่ม โดยมี inclusion criteria คือ (1) เป็นผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปี (2) มีผลการตรวจ HbsAg อย่างน้อย 2 ครั้งว่า positive (3) มีผลการตรวจการทำงานของตับอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี exclusion criteria คือ (1) ผู้ป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็งจากสาเหตุอื่นๆ เช่น Wilson disease, hemochromatosis ฯลฯ (2) เป็นโรคเรื้อรังอย่างอื่น เช่น มะเร็ง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคไตวาย, โรคเบาหวาน, โรครูมาตอยด์, โรคอ้วน, โรคไขมันในเลือดสูง (3) anti HIV+, หรือ IVDU (4) ใช้ยาที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับเป็นระยะเวลานานหรือทำให้เกิด reactivation ในกรณีของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่แล้ว เช่น steroid, immunosuppressive หลังจากดูตาม criteria ดังกล่าวแล้ว มีผู้ป่วยเข้าในการศึกษาทั้งหมด 342 คน ผลการวิจัย: ติดตามผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังเป็นจำนวนทั้งหมด 342 คน คิดเป็น 1,333 ครั้งของการมาพบแพทย์ เป็นผู้ป่วยที่เป็นพาหนะนำเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้น 200 คน, เป็นตับอักเสบเรื้อรัง 115 คน และเป็นตับแข็ง 27 คน ผู้ป่วยได้รับการติดตามรักษาน้อยกว่า 5 ปีมีจำนวน 190 คน ผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามรักษามากกว่า 5 ปีจำนวน 152 คน ระยะเวลาเฉลี่ยในการติดตามผู้ป่วยทั้งหมด 5.2 ปี พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งตับ 8 คน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มพาหะนำเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 1 คน, ในกลุ่มตับอักเสบแบบเรื้อรัง 4 คน และในกลุ่มตับแข็ง 3 คน โดยมีระยะเวลาตั้งแต่มาตรวจที่ รพ.จุฬาฯ จนถึงเป็นมะเร็งตับ ตั้งแต่ 2-13 ปี เฉลี่ย 5.3 ปี ผู้ป่วยมีอายุในขณะที่เป็นมะเร็งตับ ระหว่าง 35-67 ปี (อายุเฉลี่ย 54.6 ปี) ปัจจัยที่มีผลต่อการกลายเป็นมะเร็งตับ คือ กลุ่มผู้ป่วยในตอนแรกที่เข้าศึกษา สรุป: ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ถ้าเป็นตับแข็งจะมีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าการเป็นตับอักเสบแบบเรื้อรัง และการเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้นตามลำดับ
Other Abstract: To study the survival of chronic hepatitis B patients in 3 groups as follows: hepatitis B carriers, chronic hepatitis, and cirrhosis. Method: From 5,520 patients who had HBsAg from the registration of the Microbiology Department, Chulalongkorn Hospital, since 1986 to 1996, 1,213 had hospital numbers and records. The inclusion criterias are 1) age more than 15 years old, 2) HBsAg positive for 2 times 3) follow up and had the liver function test results at least 2 years. The exclusion criterias are 1) Other causes of chronic hepatitis and cirrhosis such as Wilson diseases, and hemochromatosis, 2) Other chronic diseases such as cancer, myocardial infarction, chronic renal failure, diabetes, rheumatoid arthritis, obesity, dyslipidemia 3) anti HIV+, or IVDU 4) drugs such as steroid, immunusuppressive drugs. 342 patients were entered into the study. Results: Follow up of the 342 patients with chronic hepatitis B infection with 1333 visits. 200 patients were grouped as carriers, 115 in chronic hepatitis group, and 27 are in the cirrhotic group. Follow up time was less than 5 years in 190 patients, more than 5 years in 152 patients. Mean duration of follow up was 5.2 years. Hepatomas were found in 8 patients, 1 from carrier group, 4 from chronic hepatitis group and 3 from cirrhotic group. Duration from entry to the study until developement of hepatoma was 2-13 years, mean duration 5.3 years. Age at developing hepatoma was between 35-67 years. (mean age 54.6 years) Factors affecting the development of hepatoma was type of the liver disease. Summary: Patients with chronic hepatitis B infection who are cirrhotic have the highest risk of developing hepatoma, followed by those with chronic hepatitis, with the carrier group having the lowest risk of the three groups. Factors affecting the development of hepatoma was type of the liver disease.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9332
ISBN: 9746385437
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vidhakorn_Sh_front.pdf787.9 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch1.pdf736.56 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch2.pdf753.54 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch3.pdf725.52 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch4.pdf917.32 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch5.pdf727.01 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_ch6.pdf812.66 kBAdobe PDFView/Open
Vidhakorn_Sh_back.pdf732.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.