Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9335
Title: ตำราประพันธศาสตร์ไทย : แนวคิดและความสัมพันธ์กับขนบวรรณศิลป์ไทย
Other Titles: Thai texts on poetics : concept and relation to Thai literary convention
Authors: ธเนศ เวศร์ภาดา
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Suchitra.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแต่งคำประพันธ์
ศิลปะการประพันธ์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาตำราประพันธศาสตร์ไทยจำนวน 10 เล่ม เพื่อชี้ให้เป็นแนวคิดและความสัมพันธ์ที่มีต่อกระบวนการสร้างและสืบทอดขนบวรรณศิลป์ของไทย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตำราประพันธศาสตร์ไทยทั้ง 10 เล่ม อันได้แก่ อลังการศาสตร์ พระคัมภีร์ สุโพธาลังการ คัมภีร์วุตโตทัย กาพยสารวิลาสินีและกาพยคันถะ จินดามณี กลบทศิริวิบุลกิตติ์ ประชุมลำนำตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ และตำราฉันทลักษณ์ เหล่านี้มีพันธกิจร่วมกันคือเป็นตำราการประพันธ์ที่มุ่งประมวลแบบแผนและหลักการประพันธ์จากวรรณคดีแบบฉบับที่ได้สั่งสมมาในแต่ละยุคสมัย และกำหนดกฎเกณฑ์ให้เป็นระบบและบรรทัดฐานของวรรณคดีลายลักษณ์ โดยผ่านกระบวนการนิยามคำและความหมายอันเกี่ยวเนื่องกับหลักการประพันธ์ และการปฏิบัติคือสร้างบทประพันธ์ให้เป็นแบบอย่าง นอกจากนี้ ยังได้ปรับประยุกต์แบบแผนที่มีมาแต่เดิมมาสร้างสรรค์ให้เกิดแบบแผนใหม่ เพื่อส่งทอดต่อไปในกระบวนการสร้างงานกวีนิพนธ์ไทย ทั้งตำราประพันธศาสตร์และวรรณคดีแบบฉบับของไทยได้สะท้อนแนวคิดเรื่องความงามทางวรรณศิลป์ไทยสำคัญประการหนึ่ง คือกฤตยาการแห่งกล ในด้านเสียง คำ และโวหาร ซึ่งกวีไทยได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าได้ศึกษาธรรมชาติของภาษาไทยอย่างถ่องแท้ ทั้งนี้เพื่อสร้างตัวบทให้มีความสมบูรณ์แบบ คือ ประกอบไปด้วยความแจ่มชัด ความประณีต และความไพเราะ แนวคิดเรื่องกฤตยาการแห่งกลนี้นับเป็นหัวใจของการสร้างขนบวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กวีไทยได้ใช้เสียงสัมผัสคล้องจอง ฉันทลักษณ์ ไวยากรณ์ คำ ตลอดจนโวหารเป็นเครื่องมือในการเล่น "กล" เพื่อแสดงให้เห็นว่าในเนื้อหาเดียวกัน กวีสามารถใช้เครื่องมืออันหลากหลายดังกล่าวมาถักทอให้เกิดเป็นตัวบทใหม่อันงอกงามต่อไป
Other Abstract: This thesis focuses on the study of Thai texts on poetics with an aim to demonstrate their concept and relation to development of Thai literary creativity and convention. According to the study, these texts namely Alangkarasatra, Subodhalangkara, Wuttodaya, Karppayasaravilasini and Kanppayakandha, Chindamani, Konlabot Siriwibunkitti, Prachumlumnum, Tamra Chanmatrapruek and Wannapruek, and Tamra Chanthaluk, all feature an endeavour to systematize and standardize patterns and principles of Thai literary poetics in the past by means of giving relevant definitions and meanings, and practising with examples. In addition, they improve and adapt traditional patterns, recreating them as new convention for Thai poetics. All the Thai texts on poetics as well as classical literature reflect "Kon", an idea of aesthetic values achieved through highly elaborate techniques in Thai literary art. This artifice device is to transfer and modify the language in aspect of sound, words and metaphor, which obviously show how Thai poets master their language, so as to create elements of literary perfection-vividness, refinement and melodiousness. The concept of "Kon" has played the key role on creating Thai literary convention, starting from Ayuddhaya to early Ratanakosin. Thai poets have employed alliteration, poetic constraints, grammar, diction and metaphor as devices to concoct "Kon" in order to demonstrate that they can use such a variety of devices to create thriving new texts.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วรรณคดีไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9335
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.211
ISBN: 9743466045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.211
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dhanate.pdf30.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.