Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9356
Title: ผลของการฝึกเกมเสริมกิจกรรมพลศึกษาที่มีต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Other Titles: Effects of practicing the supplementary games in physical education activities on the social adjustment of elementary school students
Authors: คมกฤช รัตตะมณี
Advisors: รัชนี ขวัญบุญจัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Rajanee.q@chula.ac.th
Subjects: พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การปรับตัว (จิตวิทยา)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเกมเสริมกิจกรรมพลศึกษาที่มีต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม ที่ตอบแบบสำรวจปัญหาการปรับตัวทางสังคมและมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 จำนวน 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองที่ 1 สอนเกมเสริมกิจกรรมพลศึกษา กลุ่มทดลองที่ 2 สอนกิจกรรมพลศึกษา ทั้งสองกลุ่มฝึกเพิ่มเติมในเวลาหลังเลิกเรียนเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ครั้งละ 50 นาที กลุ่มควบคุมเรียนพลศึกษาในชั้นเรียนตามปกติ ไม่มีการฝึกเพิ่มเติมหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ทำการสำรวจปัญหาการปรับตัวทางสังคม และนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวหากพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe' method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปรับตัวทางสังคม ของกลุ่มทดลองเกมเสริมกิจกรรมพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางสังคมก่อนการทดลองกับหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปรับตัวทางสังคม ของกลุ่มทดลองกิจกรรมพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางสังคม ก่อนการทดลองกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางสังคมของ กลุ่มทดลองเกมเสริมกิจกรรมพลศึกษากลุ่มทดลองกิจกรรมพลศึกษา และกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe' method) พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองที่ 1 มีคะแนนการปรับตัวทางสังคมดีกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยการปรับตัวทางสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study and compare the effects of practicing the supplementary games in physical education activities on the social adjustment of elementary school students. The samples were 90 Assumption College Primary Section pupils. All pupils were examined the problems of social adjustment ; and the pupils who had social adjustment mean scores upper the 75 percentile rank were selected. The pupils were devided into three groups with 30 pupils in each group. The first experimental group participated in the supplementary games in physical education activities, the second experimental group participated inthe physical education activities and the control group participated in the regular physical education period. The first and the second experimental group were participated in activities for fifty minutes, two days a week, within eight weeks period. The data were collected after the eighth weeks and analyzed in terms of percentages, means and standard deviations. The t-test, F-test and Scheffe' method were also applied to test the significant differences at the .05 level. The results were as follow: 1. The social adjustment score of the first experimental group between pre-test and post-test was significantly different at the .05 level. 2. The social adjustment score of the second experimental group between pre-test and post-test was significantly different at the .05 level. 3. The comparison of the social adjustment score among the first experimental, the second experimental group and the control group were found significantly different at the .05 level. The results of comparison showed that: 3.1 The first experimental group was significantly better than the control group at the .05 level. 3.2 The first experimental group and the second experimental group was not significantly different at the .05 level. 3.3 The second experimental group and the control group was not significantly different at the .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9356
ISBN: 9741307586
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komkrit.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.