Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9478
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมศักดิ์ ไชยะภินันท์-
dc.contributor.authorบุญยฤทธิ์ เผือกผ่องสุริยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2009-08-03T03:53:49Z-
dc.date.available2009-08-03T03:53:49Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740314031-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9478-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหาค่า Cooling Load Temperature Difference (CLTD) และ ค่า Solar Cooling Load (SCL) สำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นของอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานคร และมีกรอบอาคารที่สร้างจากวัสดุที่นิยมใช้ในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลภูมิอากาศสำหรับการออกแบบของกรุงเทพมหานคร โดยได้จัดทำไว้ 2 แบบ คือ ข้อมูลภูมิอากาศออกแบบที่คัดเลือกโดยวิธีการพิจารณาจากค่าอุณหภูมิออกแบบกระเปาะแห้งที่มีค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ 0.4% และข้อมูลภูมิอากาศออกแบบที่คัดเลือกโดยวิธีการพิจารณาจากค่ารังสีรวมแสงอาทิตย์ที่มีค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ 0.4% จากนั้นจึงได้ทำการคัดเลือกชุดข้อมูลภูมิอากาศที่จะใช้ในงานวิจัยนี้โดยใช้แฟ้มข้อมูลภูมิอากาศออกแบบที่ได้จัดทำขึ้นเป็นข้อมูลขาเข้าของโปรแกรม DOE-2.1E เพื่อให้โปรแกรมคำนวณหาภาระการทำความเย็นของบริเวณที่สนใจ แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน ผลการคัดเลือกจะได้ชุดข้อมูลภูมิอากาศแบบที่คัดเลือกโดยใช้วิธีการหาค่าอุณหภูมิออกแบบกระเปาะแห้งที่มีค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ 0.4% และค่าเฉลี่ยของข้อมูลภูมิอากาศอื่นๆที่สอดคล้อง เป็นชุดข้อมูลภูมิอากาศที่จะใช้ในวิทยานิพนธ์นี้ จากนั้นจึงได้กำหนดอาคารจำเพาะที่จะศึกษาขึ้นมา โดยลักษณะของห้องแต่ละห้องภายในอาคารนั้นจะเกิดขึ้นจากการรวมกันของตัวแปรที่แตกต่างกันไป 7 ตัว คือ ตำแหน่งที่ตั้งของห้อง วัสดุปูพื้น โครงสร้างผนังภายใน ปริมาณอุปกรณ์บังแดดภายใน โครงสร้างพื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ และลักษณะฝ้าเพดาน ทำให้มีห้องที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามตัวแปรเหล่านี้จำนวน 192 ห้อง และทำการหาค่า Solar weighting factors และค่า Conduction weighting factors ของห้องแต่ละห้องด้วยโปรแกรม DOE-2.1E จากนั้นนำค่าที่ได้ไปหาค่าแอมพลิจูด (amplitude) และค่าการหน่วงเวลา (delay)โดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งค่าแอมพลิจูด (amplitude) และค่าการหน่วงเวลานี้เป็นค่าที่บอกถึงการตอบสนองเชิงพลังงานความร้อน เมื่อนำค่าแอมพลิจูด และค่าการหน่วงเวลาของห้องทั้ง 192 ห้องไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความสำคัญของตัวแปร ผลที่ได้คือสำหรับชุด Solar weighting factors มีตัวแปรที่สำคัญ 3 ตัวที่ใช้อธิบายลักษณะของห้องที่ต้องการหาค่าภาระการทำความเย็น คือ วัสดุปูพื้น โครงสร้างผนังภายใน และปริมาณอุปกรณ์บังแดดภายใน ซึ่งการจัดกลุ่มของห้องเพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดสามารถกำหนดได้เป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่ม A, B, C, และ D ซึ่งทำให้ได้ตาราง SCL สำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นอันเนื่องมาจากรังสีแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านกระจกเข้ามา 4 ชุด สำหรับชุด Conduction weighting factors จากการวิเคราะห์ค่าแอมพลิจูด และค่าการหน่วงเวลาจะสามารถกำหนดให้มีตาราง CLTD 7 ชุดสำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นอันเนื่องมาจากการนำความร้อนผ่านผนังภายนอก 7 ชนิด ตาราง CLTD 6 ชุด สำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นอันเนื่องมาจากการนำความร้อนผ่านหลังคา 3 ชนิด (โครงสร้างหลังคา 3 ชนิดในกรณีที่มี และไม่มีฝ้าเพดาน) และตาราง CLTD 1 ชุดสำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นอันเนื่องมาจากการนำความร้อนผ่านกระจกใสen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to develop the values of the Cooling Load Temperature Difference (CLTD) and Solar Cooling Load (SCL) for calculating cooling load of office buildings in Bangkok which their envelopes made of commonly used material in Thailand. Two types of design weather data for Bangkok, dry-bulb temperature of 0.4% annual cumulative frequency of occurrence and global solar radiation of 0.4% annual cumulative frequency of occurrence were investigated. The process of selection involved putting the weather data to DOE-2.1E and calculating for space cooling load. The results of the cooling load from different weather input were compared. The dry-bulb temperature of 0.4% annual cumulative frequency of occurrence and mean coincident of other weather data were chosen. Next, the specific building was created. The construction and geometry of each room in the defined building was described by the combination of seven parameters. These parameters were room location, floor covering, interior wall construction, degree of interior shading, mid-floor construction, furniture and ceiling. The combination of parameters gave 192 difference room types. DOE2.1 E was used to calculate solar weighting factors and conduction weighting factors of each room. The results were then used to determine amplitude and delay for using to analyze the room dynamic response by self developed computer program. The values of amplitude and delay of 192 rooms were analyzed by using statistical method to determine the order of important for certain parameters. The results showed that for solar weighting factors, three parameters ; floor covering, interior wall construction and degree of interior shading, were important. Four groups of room type ; A,B,C and D, were chosen to generate four SCL tables used for calculating the cooling load from solar component. For conduction weighting factors, the analysis gave seven CLTD tables for seven constructions of exterior wall to use for calculating cooling load due to wall conduction and six CLTD tables for six flat roofs (3 constructions with and without ceiling) to use for calculating cooling load due to roof conduction and one CLTD table to use for calculating cooling load due to conduction through glass.en
dc.format.extent1085463 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectภาระความเย็นen
dc.subjectความร้อน -- การถ่ายเทen
dc.titleการพัฒนา CLTD และ SCL สำหรับคำนวณภาระการทำความเย็นของอาคารในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of the CLTD and SCL for calculating cooling load of building in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsomsak.c@eng.chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonyarit.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.