Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9612
Title: การเปรียบเทียบทางเลือกการสร้างสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อน ในห้องเรียนไม่ปรับอากาศ
Other Titles: Comparative solution to achieve thermal comfort in non-air conditioned classroom
Authors: รุจิยา มุสิกะลักษณ์
Advisors: สุนทร บุญญาิธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: สภาวะน่าสบาย
ห้องเรียน -- การปรับอากาศ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสนอแนะแนวทางในการสร้างสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อน ในห้องเรียนไม่ปรับอากาศ โดยใช้กรณีศึกษาการออกแบบโรงเรียนโดยวิธีธรรมชาติเป็นกรณีศึกษา การศึกษาตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบ ความเร็วลม และความชื้นสัมพัทธ์ โดยเก็บข้อมูลทางกายภาพจากอาคารจำลองแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วย สมการถดถอยสำหรับทำนายสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อนในอาคารตลอดทั้งปี ด้วยข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ผลการวิจัยพบว่า สภาวะน่าสบายทางด้านความร้อนในอาคารกรณีศึกษา ช่วงที่มีการใช้งานอาคารเวลา 8.0016.00น. ภายใต้เงื่อนไขที่มีการปรับสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคาร มีการระบายอากาศเฉพาะส่วนหลังคา ในขณะที่ตัวอาคารเป็นระบบปิดไม่ใช้การถ่ายเทอากาศแบบธรรมชาติ และใช้พัดลมเพื่อให้ผู้ใช้อาคารรู้สึกเย็นลง พบว่า ภายในห้องเรียนชั้นล่างเมื่อรวมอิทธิพลของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบ และความเร็วลมจะทำให้อยู่ในขอบเขตสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อน 100% ของปี สำหรับห้องเรียนชั้นบนซึ่งไม่มีอิทธิพลจากผิวสัมผัสดิน ในวันที่มีผลต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศภายในและภายนอกอาคาร 4ํC ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยอากาศภายนอก 36ํC และอุณหภูมิเฉลี่ยอากาศภายในอาคาร 32ํC จะทำให้ห้องเรียนชั้นบนสามารถรองรับกิจกรรมทั่วไปได้ 100% ซึ่งดีกว่าอาคารทั่วไปมาก จะเห็นได้ว่าอาคารจำลองมีประสิทธิภาพ ในการสร้างสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อนดีกว่าอาคารทั่วไป ในขณะที่ห้องเรียนชั้นล่างมีประสิทธิภาพดีกว่าห้องเรียนชั้นบน อย่างไรก็ตามถ้าต้องการให้อยู่ในขอบเขตสภาวะน่าสบาย จำเป็นต้องเพิ่มความเร็วลม (5.47 กม. ต่อชั่วโมง) ให้กับห้องเรียนชั้นบนและชั้นล่าง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การสร้างสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อนในห้องเรียนไม่ปรับอากาศ ควรคำนึงถึงตั้งแต่กระบวนการออกแบบอาคารดังนี้ 1) การปรับอิทธิพลสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร 2) ออกแบบอาคารให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 3) กรอบอาคารควรมีคุณสมบัติในการป้องกัน และหน่วงเหนี่ยวการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกอาคาร รวมไปถึงการกันความชื้นได้ดี 4) เลือกใช้วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสม 5) ใช้ประโยชน์จากอิทธิพลของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบและความเร็วลม 6) ปรับการใช้งานอาคารให้เหมาะสมกับสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อน เมื่อปฎิบัติควบวงจรดังนี้จะทำให้สภาวะน่าสบาย ทางด้านความร้อนภายในอาคารดีกว่าอาคารอื่นๆ 3 เท่า ด้วยเหตุนี้แนวคิดและขบวนการวิจัยนี้เป็นต้นแบบ ในการประยุกต์ใช้ในการออกแบบเพื่อเพิ่มศักยภาพ ใช้การปรุงแต่งสภาวะน่าสบายทางด้านความร้อนในอาคาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบก่อนการก่อสร้าง
Other Abstract: This thesis is a part of group integrated research of non-air conditioned elementary school design in the north-eastern part of Thailand as a main theme. The objectives are to propose the concept to create the thermal comfort in non-air conditioned classroom by using the natural assets design in classroom simulation model. The variables consist of the environment factors, that influences to the thermal comfort; the air temperature, the surface temperature, the wind velocity and the humidity. The building data obtained from the simulation model. They collected and analyzed with the weather data by using regression equation in order to predict the thermal comfort of buildings all year round. The results showed that the thermal comfort in the simulation model during 8.00-16.00 under the micro-climate modification, the roof ventilation, the close system ventilation and the fan usage for sensation cooling, the lower classroom's temperature is 100% in the comfort zone in case of included the influence of MRT and wind velocity. For the upper classroom, without the earth contact surface, the different of temperature between inside and outside is 4ํC. While the average air temperature is 36ํC and 32ํC on the inside. This can lead to the ability to support the activities for 100%, which better than the normal building. However, if the thermal comfort is needed in both classroom, the wind velocity should be increased about 5.74 km./h. The research illustrates that to create the thermal comfort, we should considered the building design process in the topic of 1) The modification of the microclimate 2) The building design repose for the environment 3) the ability to protect and delay the heat, and moisture from the outside of building by the building envelope 4) The appropriate materials selection and construction technology 5) The benefit of MRT influence and wind velocity 6) The adaptation of building to suit the thermal comfort. When the complete system design was creates, 3 times thermal comfort has been obtained. From this research the concept and the process can be as a prototype of design that increase the potential to modify the thermal comfort in building and pre-design efficiency of building
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9612
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.308
ISBN: 9741706596
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.308
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roujiya.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.