Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9626
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.author | วิษณุ ทรัพย์สมบัติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-05T02:31:57Z | - |
dc.date.available | 2009-08-05T02:31:57Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743319719 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9626 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความต้องการจำเป็นแบบมีส่วนร่วมด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียนตามการรับรู้ของนักเรียนโดยใช้เทคนิคเสียงจากภาพและเทคนิคการสนทนากลุ่ม (2) เปรียบเทียบความสอดคล้องของความต้องการจำเป็นและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นระหว่างการใช้เทคนิคเสียงจากภาพและเทคนิคการสนทนากลุ่ม (3) เปรียบเทียบผลของการใช้เทคนิคเสียงจากภาพและเทคนิคการสนทนากลุ่มด้านคุณลักษณะของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมหลังการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจให้มีการใช้เทคนิคทั้งสองในการประเมินความต้องการจำเป็น และความคิดเห็นที่มีต่อการใช้เทคนิค โรงเรียนที่เป็นสนามวิจัยเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาแห่งหนึ่งที่ภาคใต้ โดยมีผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประเมินความต้องการจำเป็นจำนวน 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 คน ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในแต่ละกลุ่มจะใช้เทคนิคที่ต่างกันในการประเมินความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความต้องการจำเป็นที่ได้จากการประเมินด้วยเทคนิคเสียงจากภาพและเทคนิคการสนทนากลุ่มส่วนใหญ่เป็นความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านกายภาพในโรงเรียน เช่น ความสะอาดและความขาดแคลนอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องประกอบ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การทิ้งและการกำจัดขยะ 2. ความต้องการจำเป็นที่ได้จากการประเมินด้วยเทคนิคเสียงจากภาพและเทคนิคการสนทนากลุ่ม พบว่า 2.1 ความต้องการจำเป็นที่ได้จากการประเมินด้วยเทคนิคเสียงจากภาพมีจำนวน 46 รายการ ส่วนความต้องการจำเป็นที่ได้จากการประเมินด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่มมีจำนวน 25 รายการ และมีรายการที่สอดคล้องกันจำนวน 21 รายการ คิดเป็นสัดส่วน 21/50 หรือร้อยละ 42 2.2 ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น 10 ลำดับแรกที่จัดเรียงโดยผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมจากทั้งสองเทคนิค มีรายการที่สอดคล้องกันจำนวน 4 รายการ 3. คุณลักษณะของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งสองกลุ่มหลังจากได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจให้มีการใช้เทคนิคทั้งสองแบบในการประเมินความต้องการจำเป็นพบว่าไม่แตกต่างกัน ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทคนิคเสียงจากภาพได้รับการพัฒนาด้านความสามารถในการแก้ปัญหา/นำเสนอปัญหาและความกล้าแสดงออกมากที่สุด ส่วนผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทคนิคการสนทนากลุ่มได้รับการพัฒนาด้านการวางแผนร่วมกันทำงานภายในกลุ่มมากที่สุด และผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้นำความต้องการจำเป็นที่ได้จากการประเมินเสนอให้โรงเรียนรับรู้ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to study the results of the participatory needs assessment on school environment of secondary school students, using photovoice and focus group techniques, (2) to compare the consistency and priority of needs obtained from both techniques, and (3) to compare the characteristics of the participants after being empowered to use both techniques in needs assessment process and to study the opinions of the participants on the techniques. The case study was a school under the jurisdiction the Department of General Education, located in the south of Thailand. The participants were assigned into two groups. Each group consisted of 8 mathayom suksa two students and 3 mathayom suksa four students. Different techniques, photovoice and focus group techniques were used to conduct needs assessment in each of the two groups, respectively. The results of this study were as follows: 1. Most of the needs obtained by photovoice and focus group techniques were related to physical environment in the school : insufficiency and cleanness of the school building, classrooms, and materials, the problems of the rubbish and the disposal of rubbish. 2. The needs obtained from both techniques were as follows : 2.1 There were 46 needs obtained from photovoice technique and 25 from focus group technique. The consistency of the needs obtained from the two techniques were 21 items out of 50 (42%). 2.2 Based on the top ten needs obtained from both technique, only 4 needs were congruent. 3. The characteristics of the participants in the group process after being empowered to use both techniques in conducting needs assessment were not different. The participants in photovoice group were developed in terms of their problem solving ability and confidence, where as those in the focus group were developed in terms of their teamworking ability. The participants then proposed the needs to the school for further solution. 4. The participants in this study were satisfied with the use of photovoice and focus group as needs assessment tools. | en |
dc.format.extent | 1184742 bytes | - |
dc.format.extent | 1486846 bytes | - |
dc.format.extent | 3538362 bytes | - |
dc.format.extent | 1405110 bytes | - |
dc.format.extent | 5059675 bytes | - |
dc.format.extent | 1561672 bytes | - |
dc.format.extent | 2199584 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สภาพแวดล้อมทางการเรียน | en |
dc.subject | การประเมินความต้องการจำเป็น | en |
dc.subject | การสนทนากลุ่ม | en |
dc.title | ผลการประเมินความต้องการจำเป็นด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน ของนักเรียนมัธยมศึกษา : การเปรียบเทียบระหว่างการใช้เทคนิคเสียงจากภาพ และเทคนิคการสนทนากลุ่ม | en |
dc.title.alternative | Results of needs assessment on school environment of secondary school students a comparison between the use of photovoice and focus group techniques | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wsuwimon@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisanu_Sa_front.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_ch1.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_ch2.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_ch3.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_ch4.pdf | 4.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_ch5.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisanu_Sa_back.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.