Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9701
Title: การศึกษาผลของระดับความเข้มการผสมต่อคุณสมบัติคอนกรีตที่ได้จากโรงงานผสมคอนกรีต
Other Titles: Study of effects of mixing intensity on properties of concrete from concrete mixing plants
Authors: สุดารัตน์ ปีนะภา
Advisors: บุญไชย สถิตมั่นในธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Boonchai.S@Chula.ac.th
Subjects: คอนกรีตผสมเสร็จ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คอนกรีต เป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง แต่กลับพบว่าเป็นวัสดุที่ได้รับการควบคุมคุณภาพด้านการผลิตต่ำกว่าวัสดุก่อ สร้างประเภทอื่น โดยเฉพาะในแง่ของกระบวนการผสม จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าระดับความเข้มการผสมสามารถเป็นตัวบ่งชี้คุณสมบัติ ของคอนกรีตที่ได้จากโรงงานผสมคอนกรีตได้ โดยพบว่าคอนกรีตที่ได้รับการผสมโดยระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสมจะมีค่า ความสามารถการทำงานได้สูงที่สุดสำหรับคอนกรีตที่มีสัดส่วนผสมเดียวกัน โรงงานผสมคอนกรีตโดยทั่วไปในปัจจุบันผสมคอนกรีตที่มีส่วนผสมต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ คอนกรีตธรรมดาที่ไม่ใช้เถ้าลอยและไม่ใช้น้ำยาผสมเพิ่ม คอนกรีตที่ไม่ใช้เถ้าลอยแต่ใช้น้ำยาผสมเพิ่ม คอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยแต่ไม่ใช้น้ำยาผสมเพิ่ม และคอนกรีตที่ใช้เถ้าลอยและใช้น้ำยาผสมเพิ่ม จากการศึกษาพบว่า สามารถทำนายระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสมของคอนกรีตได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสม ได้แก่ พื้นที่ผิวจำเพาะ เบลนของวัสดุผงซึ่งประกอบด้วยซีเมนต์และเถ้าลอย สัดส่วนปริมาตรของแข็งของวัสดุผง ชนิดและปริมาณน้ำยาผสมเพิ่ม การเคลื่อนที่ของมวลรวมหยาบ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสมที่วัดได้จริงจากโรง งาน พบว่า ชนิด ความจุมากที่สุดของเครื่องผสม ปริมาณการผสมแต่ละครั้ง และลำดับการใส่ส่วนผสม มีผลต่อระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสม ซึ่งต้องทำการศึกษาโดยละเอียดต่อไป คอนกรีตที่ได้จากโรงงานผสมในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ได้รับการผสมโดยมีระดับความเข้มการผสมที่ใกล้เคียงกับค่าทำนาย ระดับความเข้มการผสมที่เหมาะสม โดยมีคุณสมบัติด้านค่ายุบตัวเป็นที่ยอมรับได้ของผู้ผลิตและลูกค้า สำหรับบางโรงงานที่ผสมคอนกรีตโดยระดับความเข้มการผสมสูงกว่าระดับความเข้ม การผสมที่เหมาะสมนั้น ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าคอนกรีตที่ได้มีคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ดีขึ้นมากจนไม่ถือเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในการผสมหรือไม่ ต่อไป
Other Abstract: Concrete is one of the most important materials in construction. The quality control of the concrete production has not been interested by concrete industries especially in mixing process. This study can be concluded that mixing intensity can indicate properties of concrete from concrete plants. The concrete mixed by the optimum mixing intensity is the most workability compared to concrete with the same mix proportion mixed by less or higher mixing intensity. The present concrete plants have many mix proportions which can be divided into 4 groups such as ordinary concrete without fly ash and admixture, concrete without fly ash but with admixture, concrete with fly ash but without admixture and concrete with fly ash and admixture. The study showed that the optimum mixing intensity can be predicted and factors effecting the optimum mixing intensity are specific surface of powder materials which contain cement and fly ash, solid volume fraction of powder materials, type and amount of admixture used and effects of aggregate particles. Comparing the predicted optimum mixing intensity to the one obtained from the concrete plants, it was found that type and capacity of mixer, mixing quantities and mixing sequences may effect the optimum mixing intensity. Further studies have to be included in this case. It was found that in most concrete plants concrete is mixed by the mixing intensity that is quite equal to the optimum mixing intensity while the value of slump is acceptable. Some concrete plants have mixed the concrete by higher mixing intensity. The further studies must be conducted to ensure that the higher mixing intensity cause no exceed and not necessary mixing intensity or that the higher mixing intensity gives higher quality of concrete.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9701
ISBN: 9740304885
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.