Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9769
Title: ประสิทธิภาพการกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนในอากาศโดยใช้ระบบบำบัดด้วยดิน (อี เอ พี เอส)
Other Titles: Removal efficiency of oxides of nitrogen by earth air purification system, EAPS
Authors: เจตนา จิรวัชรเดช
Advisors: สุธา ขาวเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutha.K@eng.chula.ac.th
Subjects: มลพิษทางอากาศ
อากาศ -- การทำให้บริสุทธิ์
ไนโตรเจนไดออกไซด์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนโดยใช้ระบบบำบัดด้วยดิน (EAPS) การทดลองแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนจากไอเสียรถยนต์ ที่มี ความเข้มข้นของมลพิษสูง โดยใช้ดินตัวกลาง 3 ชนิด ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก และดินสีดา ซึ่งเป็นวัสดุปรุงแต่งดิน (Fertilizer and Soil Conditioner) ช่วงหลังเป็นการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไนตริกออกไซด์จากมลพิษสังเคราะห์ความเข้มข้นต่ำแบ่งเป็น 3 ชุดการทดลองตามความเข้มข้นที่เข้าระบบ คือ 250, 500 และ 750 ppb โดยใช้ดินตัวกลาง 3 ชนิดคือ ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก และดินสีดา หลังการทดสอบทั้ง 2 ช่วงมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณไนโตรเจนรูปต่างๆในดินตัวกลาง จากการศึกษาพบว่าในการทดสอบช่วงแรก ซึ่งใช้ไอเสียรถยนต์เป็นแหล่งมลพิษมีความเข้มข้นออกไซด์ของไนโตรเจนที่ทางเข้าระบบประมาณ 2 - 4 ppm มีประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนไดออกไซด์ถึง 100% สำหรับทุกดินตัวกลาง ส่วนประสิทธิภาพการกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนของปุ๋ยคอก, ปุ๋ยหมัก และ ดินสีดา คิดเป็นร้อยละ 53.7, 43.2 และ 58.6 ตามลำดับ การศึกษาในช่วงหลังซึ่งใช้มลพิษสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์เป็นแหล่งมลพิษ พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดไนตริกออกไซด์ในแต่ละชุดการทดลอง และดินตัวกลางแต่ละชนิดมีค่าใกล้เคียงกันประมาณ 20 - 35% จึงสรุปได้ว่าประสิทธิภาพการกำจัดออกไซด์ของไนโตรเจนขึ้นกับปริมาณไนโตรเจนไดออกไซด์ในมลพิษ นอกจากนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณไนโตรเจนรูปต่างๆในดินตัวกลางหลังการทดสอบพบว่าแอมโมเนียในดินจะเปลี่ยนรูปไปเป็นไนเตรทโดยจุลชีพชนิดแอโรบิค ส่วนปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเพิ่มขึ้นน้อยมาก เนื่องจากไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นจากการทดลองมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the removal efficiency of oxides of nitrogen by Earth Air Purification System, EAPS. The experiment has 2 parts. The first part investigate the removal efficiency of oxides of nitrogen from the emissions of automobile by using 3 kinds of fertilizers, manure(Pui Kok), organic waste compost(Pui Mug) and fibre mixed soil(Sida soil) as medias. The second part investigate the removal efficiency of Nitric Oxide from synthetic polluted gas. It consists of 3 experiments using 3 concentrations of synthetic polluted gas,(250, 500 and 750 ppb) at the inlet of the system. Each experiment tested with Pui Kok, Pui Mug and Sida soil. After testing of each part, the transformation of nitrogen in soil media was studied.It was found in the first part of the experiment that the system has a removal efficiency of nitrogendioxide (NO[subscript 2]) about 100% for all soil medias. The removal efficiency of oxides of nitrogen of Pui Kok, Pui Mug and Sida soil were 53.7%, 43.2% and 58.6% respectively. The second part of the experiment found that the removal efficiency at of nitric oxide at 20-35% in each experiment was not much different for three medias. It may concluded that removal efficiency of oxides of nitrogen depends on the ratio of nitrogendioxide (NO[subscript 2]) in polluted air.Moreover, from the study of nitrogen transformation in soil media. It was found that ammonia in soil changes to nitrate by aerobic microbe action and the amount of TKN nitrogen did not change much compared with nitrogen already present in soil media.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9769
ISBN: 9740303005
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jettana_Jira.pdf11.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.