DSpace Repository

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแปลงหนี้ใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
dc.contributor.author ณัฐภรณ์ ธราสุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-14T04:02:14Z
dc.date.available 2009-08-14T04:02:14Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741746806
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10078
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract กฎหมายเรื่องแปลงหนี้ใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังคงไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนและละเอียดดีพอ ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการ โดยเฉพาะเมื่อการแปลงหนี้ใหม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาต่างตอบแทน สัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัด และนำไปเป็นแนวทางในการตีความหรือบังคับใช้กฎหมายต่อไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอันมีความเกี่ยวพันระหว่างการแปลงหนี้ใหม่และบทบัญญัติในเรื่องสัญญาต่างตอบแทน สัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จากการศึกษาและวิเคราะห์ตามแนวความคิดของนักกฎหมายและแนวทางจากคำพิพากษาฎีกาทำให้ผู้เขียนพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวพันกับการแปลงหนี้ใหม่นั้นไม่ได้เกิดจากตัวบทบัญญัติของเรื่องแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด เนื่องจากบทบัญญัติการแปลงหนี้ใหม่มีลักษณะที่สร้างความยืดหยุ่นเพื่อเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้บังคับกันตามสัญญาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อันเป็นการระงับปัญหาข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นแก่ศาลได้ นอกจากนั้น แม้จะมีแนวความเห็นที่คลาดเคลื่อนกันในเรื่องของหลักประกัน แต่เมื่อได้ศึกษาถึงบทบัญญัติและแนวความคิดพื้นฐานของเรื่องหลักประกันแล้ว การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เป็นกรณีที่ควรจะนำมาตรา 305 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนของการโอนสิทธิเรียกร้องมาบังคับใช้ ในขณะที่การแปลงหนี้ใหม่ประเภทอื่นๆ จะต้องนำมาตรา 352 เป็นหลักเกณฑ์ในพิธีการเกี่ยวกับเรื่องหลักประกัน ในตอนท้ายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้สรุปและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่มีความเกี่ยวพันกับการแปลงหนี้ใหม่ รวมทั้งปัญหาในเรื่องวิธีการแปลงหนี้ใหม่ และเรื่องหลักประกันที่ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่ เพื่อแสดงแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายแปลงหนี้ใหม่อันจะสามารถนำไปพิจารณาแก้ปัญหาต่อไป en
dc.description.abstractalternative Never have been deeply studied in recent legal problems concerning the novation causes, there are many problems in practice, specially the bilateral Contract, The compromise and debt restructuring Contract. Therefore, the provision of the novation should be made to be substantially transparency in order to make its purpose before being imposed on the law. This thesis is aimed to study legal problems concerning novation and provision of bilateral Contract, The compromise and debt restructuring Contract. Studying and analysis of lawyer's concept and judgments, the novation's provision is not the cause of the problem, the novation's provision is more flexible enough to change the essential elements of the obligation between creditor and debtor more easily, which finally would be deduced the dispute between creditor and debtor in the court. Somehow, the security concepts might have cause controversy in some cases. After study the basic of the security concepts, the Article 305, transfer of claim, should be implied to the novation by change of an creditor. In the meantime, the other categories should be enforced by provision of security in the Article 352. In the summary, the status of novation's problem in practice and the security in controversy have been disputes in order to reach the obligations of the novation. en
dc.format.extent 1994086 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หนี้ en
dc.subject สัญญา en
dc.title ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแปลงหนี้ใหม่ en
dc.title.alternative Legal problems concerning novation en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Paitoon.K@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record