dc.contributor.advisor |
โสรีช์ โพธิแก้ว |
|
dc.contributor.author |
สุพัตรา จันทร์ลีลา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2009-08-17T07:57:03Z |
|
dc.date.available |
2009-08-17T07:57:03Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741725787 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10196 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร ในสถานีตำรวจนครบาล และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานกับความมุ่งหวังในชีวิต การแสวงหาความหมายในชีวิต และความฉลาดทางอารมณ์ ของตำรวจจราจรในสถานีตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสายจราจร จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเหนื่อยหน่าย แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิต แบบวัดการแสวงหาความหมายในชีวิต และแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ โดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมด้วยตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ตำรวจจราจรในสถานีตำรวจนครบาลที่มีภูมิหลังด้านอายุ และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 2. ตำรวจจราจรในสถานีตำรวจนครบาล มีความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานระดับปานกลาง ทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านลดความเป็นบุคคลในผู้อื่น และด้านความสำเร็จส่วนบุคคล 3.ตัวแปรความเหนื่อยหน่ายมีความสัมพันธ์ทางลบกับตัวแปรความมุ่งหวังในชีวิต และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับตัวแปรการแสวงหาความหมายในชีวิต การสัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรในสถานีตำรวจนครบาล จำนวน 15 คน คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าคะแนนความเหนื่อยหน่ายที่อยู่ในระดับที่สูง (x+2SD) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แนวคำถามในการสัมภาษณ์ จากข้อมูลการสัมภาษณ์พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรในเขตนครบาล จำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1)สภาพทางกายภาพของงานจราจร 2)การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง และ3) ความคิด ความรู้สึกของตำรวจจราจร |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to study burnout in the metropolitan traffic police and to study the correlations between the burnout of traffic police with purpose in life, seeking of noetic goals and emotion intelligence. The sample was 359 warrant police officer in the metropolitan traffic police department. The instruments used were the Maslach Burnout Inventory, the Purpose in life, the Seeking of Noetic Goals and the 33-item Emotion Intelligence Scales. It was found that 1. metropolitan police officer with difference ages and difference work experiences had no significant difference burnout in work. 2. the police had moderate level of burnout in all three scales i.e. emotional exhaustion, depersonalization and personal accomplishment. 3. burnout correlated negatively with the Purpose in life and the Emotion intelligence but did not correlate with the Seeking of Noetic Goals. Additional interview for the cause of the burnout of the traffic police, fifteen police with score higher than x+2SD in burnout scale were selected for interviews. Instruments used were a tape recorder and a set of questionnaire. It was found that causes of burnout of the metropolitan traffic polices could be categorized into three groups, i.e. (1) physical setting of traffic (2) interaction with those around and (3) thought and feeling of the police. |
en |
dc.format.extent |
1110587 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) |
en |
dc.subject |
ตำรวจจราจร -- ไทย |
en |
dc.title |
ปัจจัยส่วนบุคคลของภาวะความเหนื่อยหน่ายของตำรวจจราจรในเขตนครบาล |
en |
dc.title.alternative |
Personal factors of burnout in the metropolitan traffic police |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Soree.P@Chula.ac.th |
|