DSpace Repository

การหาแหล่งโรคที่ทำให้เกิดการติดต่อของโรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐานิสร์ ดำรงค์วัฒนโภคิน
dc.contributor.author ธรรมวรรณ หนุนไธสง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.coverage.spatial บุรีรัมย์
dc.date.accessioned 2009-08-25T10:15:45Z
dc.date.available 2009-08-25T10:15:45Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741723814
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10481
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract จากปัญหาการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสในคนอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง เป็นเวลาติดต่อกัน 3-4 ปีของจังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าแหล่งโรค (source of infection) ของเชื้อเลปโตสไปร่ายังคงอยู่และมีการวนเวียนของเชื้อในพื้นที่ แหล่งโรคนั้นอาจเป็นสัตว์นำโรค (carrier) ที่ปล่อยเชื้อออกจากร่างกายแล้วเกิดการปนเปื้อนของเชื้อในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในแหล่งน้ำ จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจหาแหล่งโรค ทั้งในสัตว์นำโรค (เช่น โค กระบือ สุกร สุนัข หนู) และแหล่งน้ำที่สงสัยว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อเลปโตสไปร่า โดยการตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่าด้วยเทคนิคลูกโซ่โพลิเมอเรส (Polymerase Chain Reaction, PCR และการเพาะเชื้อจากปัสสาวะสัตว์ ไตหนู และน้ำจากแหล่งน้ำที่สงสัย จำนวน 244 ตัวอย่าง ซึ่งให้ผลลบต่อการตรวจทั้งหมด และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับการตรวจทางซีโรโลยีด้วยเทคนิค Microscopic Agglutination Test (MAT) ด้วยการวัดระดับไตเตอร์ของร่างกายต่อเชื้อเลปโตสไปร่า 24 ซีโรกรุ๊ป จำนวน 340 ตัวอย่างที่ระดับไตเตอร์เริ่มต้น 1:20 พบว่าสัตว์ในพื้นที่ให้ผลบวกต่อการตรวจ 38 (11.1%) ตัวอย่าง แบ่งเป็นโค 21 ตัวอย่าง กระบือ 12 ตัวอย่าง สุกร 3 ตัวอย่าง และสุนัข 2 ตัวอย่าง โดยส่วนใหญ่พบมีแอนติบอดี้ต่อเชื้อ Leptospira interogans serovar ballum 38.2%, bratislava 12.7% ที่เหลือได้แก่ hebdomadis, patoc, sejroe, autumnalis และ icterohaemorrhagiae จากผลการตรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ผลการตรวจหาเชื้อเลปโตสไปร่าในสิ่งส่งตรวจให้ผลลบทั้งหมดนั้น สันนิษฐานได้ว่าในการศึกษาครั้งนี้สัตว์และแหล่งน้ำในพื้นที่ไม่ใช่แหล่งโรค ที่เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคในคน แต่จากรายงานจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ที่สูงขึ้น อาจเกิดจากการวินิจฉัยโรคผิดพลาด ซึ่งต้องมีการศึกษาหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไป en
dc.description.abstractalternative From human leptospirosis epidemic that occurred increasingly and continuously for 3-4 years in Burirum province. The epidemic may be use to hypothesize that source of leptospirosis infection was continuing to circulate in the outbreak area. The source of infection could have been carrier animals that shed leptospira spp. or environment that is contaminated with leptospires. Therefore, the objective of this study was to find the source of leptospirosis infection including carrier animal (i.e. cattles, buffaloes, pigs, dogs, and rats) and environment especially, suspicious water resource. Polymerase Chain Reaction (PCR) and culture techniques were employed to isolated leptospira spp. from urine samples. A total of 244 urine and suspicious water samples were negative to both PCR and culture techniques. Comparatively, a total of 340 serum samples were examined for antileptospiral antibodies using Microscopic Agglutination Test (MAT). The MAT used 24 serogroup as a tested battery. From a total of 340 serum samples, 38 (11.1%) samples were positive at the cut off point greater than 1:20. Out of 38 serum samples, cattles accounted for 21 samples, buffaloes 12 samples, pigs 3 samples and dogs 2 samples. Most prevalence serovar were leptospira interogans serovar ballum (38.2%). Leptospira interogans serova bratislava accounted for 12.7%. Serovar hebdomadis, patoc, sejroe, autumnalis, and icterohemorrhagiae were also found positive in this study. Eventhough the results reviewed that leptospirosis is an endemic disease in Burirum province due to positive serum sample, leptospira spp. was not found in all collected sample. This can be hypothesized that animals and suspicious water resource were not the source of infection in human leptospirosis epidemic in this study. Therefore, the increasing cases of leptospirosis in human may have been a misdiagnosis and need further investigation. en
dc.format.extent 1050646 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เลปโตสไปโรซิส -- ไทย -- บุรีรัมย์ en
dc.subject เลปโตสไปรา en
dc.title การหาแหล่งโรคที่ทำให้เกิดการติดต่อของโรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดบุรีรัมย์ en
dc.title.alternative Identification of the infection sources to leptospirosis outbreak in Burirum Province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สัตวแพทยสาธารณสุข es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record