Abstract:
กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ ประสบการณ์ค่าสินไหมทดแทน โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอย ทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้ และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลตัวอย่าง การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เดือนพฤษภาคม 2543-เมษายน 2544 ของผู้เอาประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 รหัส 110 รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรหัส 120 รถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์ จากบริษัทประกันวินาศภัย 1 บริษัท ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันรถยนต์ในครั้งนี้ สำหรับวิธีวิเคราะห์การถดถอยจะจำแนกตามปัจจัยกลุ่มรถยนต์ ลักษณะการใช้รถ และขนาดรถยนต์ โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่ม 2 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี กลุ่ม 2 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี กลุ่ม 3 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี กลุ่ม 3 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี รวมทั้งหมด 8 กลุ่ม สำหรับทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้ และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก จะจำแนกตามปัจจัยกลุ่มรถยนต์ ลักษณะการใช้รถ อายุรถยนต์และขนาดรถยนต์ โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่ม 2 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ที่มีอายุรถยนต์ 1-10 ปี กลุ่ม 2 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ที่มีอายุรถยนต์ 1-10 ปี กลุ่ม 3 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ที่มีอายุรถยนต์ 1-10 ปี กลุ่ม 3 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ที่มีอายุรถยนต์ 1-10 ปี กลุ่ม 4 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี ที่มีอายุรถยนต์ 1-10 ปี กลุ่ม 5 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซีที่มีอายุรถยนต์ 1-7 ปี รวมทั้งหมด 97 กลุ่ม ส่วนกลุ่มอื่นที่ไม่ได้นำมาพิจารณาในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในครั้งนี้ เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ หลังจากได้อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์แล้ว จะประเมินผลอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ได้จากการใช้ทั้ง 3 วิธี กับอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันโดยใช้อัตราส่วนความเสียหาย เนื่องจากข้อมูลตัวอย่างที่นำมาดำเนินการศึกษาในครั้งนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย ทำให้ค่าที่ได้อาจมีความไม่แม่นยำพอ จึงเสนอเพียง 1 วิธีคือ ทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อยความเชื่อถือก็จะน้อยตาม ดังนั้นจะขอเสนอเฉพาะผลจากทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้เพียง 1 วิธี ทั้งนี้ผลสรุปที่ได้ว่าควรลดหรือเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยอยู่ภายใต้ข้อมูลที่มี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่ม 2 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ควรลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 5-45% และกลุ่ม 2 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ควรมีการลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 2-50% ยกเว้นกลุ่มที่มีอายุ 7 ปี ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี ควรเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยจากเดิมประมาณ 8% 2. กลุ่ม 3 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ควรลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 4-25 % ยกเว้นกลุ่มที่มีอายุ 6 ปี และ 9 ปี ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และอายุรถยนต์ 8 ปี ที่มีขนาดรถยนต์ >2000 ซีซี ควรเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยจากเดิมประมาณ 12-25% และกลุ่ม 3 รหัส 120 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และ >2000 ซีซี ควรมีการลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 1-40% ยกเว้นกลุ่มที่มีอายุ 10 ปี ขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี และอายุรถยนต์ 8 ปี ที่มีขนาดรถยนต์ >2000 ซีซี ควรเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยจากเดิมประมาณ 3-20% 3. กลุ่ม 4 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี ควรลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 5-25% ยกเว้นกลุ่มที่มีอายุ 6 ปี และ 9 ปีควรเพิ่มอัตราเบี้ยประกันภัยจากเดิมประมาณ 2-4% 4. กลุ่ม 5 รหัส 110 ที่มีขนาดรถยนต์ <=2000 ซีซี ควรลดอัตราเบี้ยประกันภัยลงจากเดิมประมาณ 3-34 % 5. ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนน้อย วิธีที่เหมาะสมคือ ทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้ เนื่องจากทฤษฎีความน่าเชื่อถือได้ไม่พึ่งพิงจำนวนข้อมูล ถ้าข้อมูลน้อยความเชื่อถือก็น้อยด้วยแต่สำหรับวิธีวิเคราะห์การถดถอย และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบถ่วงน้ำหนัก ข้อเสียคือ ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย ค่าที่ได้อาจไม่แม่นยำ ผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนได้ 6. จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีเหล่านี้ บริษัทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ข้อมูลต้องอยู่ภายใต้สมมติฐานเดียวกันและการปรับลดอัตราเบี้ยประกันภัยนั้นต้องทำให้อัตราส่วนความเสียหายอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้