DSpace Repository

ความไวต่อการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญาของเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีระพร อุวรรณโณ
dc.contributor.author ชุติมา ชัยธชวงค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2009-08-29T04:06:17Z
dc.date.available 2009-08-29T04:06:17Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740302238
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10709
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนเจตคติโดยรวม เมื่อเจตคติมีพื้นฐานทางปัญญาและมีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก ต่อการโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรส การโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับกลิ่น การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรส และการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 81 คน แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 8 เงื่อนไข ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อพื้นฐานเจตคติต่อเครื่องดื่มเกิดจากรส เจตคติโดยรวมต่อเครื่องดื่มไม่ได้มีพื้นฐานมาจากอารมณ์ความรู้สึก (p.01) 2. เมื่อพื้นฐานเจตคติต่อเครื่องดื่มเกิดจากการอ่านข้อมูลเกี่ยวกับรส เจตคติโดยรวมต่อเครื่องดื่มมีพื้นฐานมาจากปัญญา (p<.05). 3. เจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติโดยรวมไม่แตกต่างจากเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา 4. การโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรส เปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวใจทางปัญญาด้วยกลิ่น 5. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรส เปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่น (p<.05) 6. การโน้มน้าวใจทางปัญญาต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญาเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวใจทางปัญญาต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก 7. การโน้มน้าวในทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับรสต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญาเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้ไม่แตกต่างจากการโน้มน้าวในทางปัญญาด้วยการอ่านบทความเกี่ยวกับกลิ่นต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา 8. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวในทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางปัญญา (p<.05) 9. การโน้มน้าวในทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยรสต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกด้วยกลิ่นต่อเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก (p<.05) 10. การโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนเจตคติโดยรวมได้น้อยกว่าการโน้มน้าวใจทางปัญญา (p<.01) en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study overall attitude changeing based on affective and cognitive attitude by cognitive-taste persuasion, cognitive-smell persuasion, affective taste persuasion, and affective-smell persuasion. The participants, 81 Chulalongkorn University undergraduate students, were randomly assigned equally to each of 8 conditions. The results of the experiment are as follow: 1) When an attitude was formed by taste, overall attitude is not based on affection (p<.01). 2) When an attitude was formed by reading information about taste, overall attitude is based on cognition (p<.05). 3) Overall attitude change based on affective attitude does not differ from change based on cognitive attitude. 4) Overall attitude change based on cognitive-taste persuasion does not differ from change based on cognitive-smell persuasion. 5) Overall attitude change based on affective-taste persuasion was more effective than change based on affective-smell persuasion (p<.05). 6) Overall attitude change for cognitive persuasion on cognitive attitude does not differ from change for cognitive persuasion on affective attitude. 7) Overall attitude change for cognitive-taste persuasion on cognitive attitude does not differ from change for cognitive-smell persuasion on cognitive attitude. 8) Affective persuasion on affective attitude produces less overall attitude change than affective persuasion on cognitive attitude (p<.05). 9) Affective-taste persuasion on affective attitude produces less overall attitude change than affective-smell persuasion on affective attitude (p<.05) 10) Affective persuasion produces less overall attitude change than cognitive persuasion (p<.01) en
dc.format.extent 823611 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทัศนคติ en
dc.subject การโน้มน้าวใจ en
dc.title ความไวต่อการโน้มน้าวใจทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญาของเจตคติที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ความรู้สึก และทางปัญญา en
dc.title.alternative The susceptibility to affective and cognitive persuasion of affectively and cognitively based attitudes en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Theeraporn.U@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record