dc.contributor.advisor |
วัชราภรณ์ ทัศจันทร์ |
|
dc.contributor.advisor |
ชัยวัฒน์ มณีบุศย์ |
|
dc.contributor.author |
ฤดี สุมาลย์นพ, 2518- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-05-29T02:08:02Z |
|
dc.date.available |
2006-05-29T02:08:02Z |
|
dc.date.issued |
2545 |
|
dc.identifier.isbn |
9741715609 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/111 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อเปรียบเทียบการสูญเสียแร่ธาตุของรอยโรคจุดขาวใน ชั้นเคลือบฟันของฟันกรามถาวรที่สัมผัสกับวัสดุบูรณะชนิดปลดปล่อยฟลูออไรด์ 3 ชนิด โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองได้แก่ กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินผลิตภัณฑ์ Fuji II LCR capsule เรซิน คอมโพสิตชนิดดัดแปลงด้วยโพลีแอซิดผลิตภัณฑ์ CompoglassR Flow เรซินคอมโพสิตชนิดผสมฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ HeliomolarR กับวัสดุบูรณะชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ได้แก่ เรซินคอมโพสิตชนิดไม่ผสมฟลูออไรด์ผลิตภัณฑ์ Z 250R และศึกษาเปรียบเทียบการสูญเสียแร่ธาตุของรอยโรคจุดขาวที่สัมผัสกับวัสดุแต่ละชนิดในกลุ่มทดลอง โดยใช้ฟันกรามถาวรจำนวน 60 ชิ้นขนาด 2x4 ตารางมิลลิเมตร นำไปทำให้เกิดรอยโรคจุดขาวด้วยการแช่ชิ้นเคลือบฟันในสารละลายสำหรับทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ นำสารละลายไปวัดหาปริมาณแคลเซียมด้วยเครื่องอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ เพื่อจัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม นำชิ้นเคลือบฟันไปสัมผัสกับวัสดุบูรณะ 4 ชนิด แล้วไปผ่านกระบวนการจำลองสภาวะการเปลี่ยนแปลง ความเป็นกรด-ด่างภายในช่องปากเป็นเวลา 30 วัน โดยแช่ในสารละลายสำหรับทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ วันละ 2.5 ชั่วโมง และแช่ในสารละลายสำหรับทำให้เกิดการผันกลับแร่ธาตุวันละ 21.5 ชั่วโมง ภายหลังทดลองครบ 30 วัน นำชิ้นเคลือบฟันแยกออกจากชิ้นวัสดุ แช่ชิ้นเคลือบฟันในสารละลายสำหรับทำให้เกิดการสูญเสีย แร่ธาตุ 96 ชั่วโมง นำสารละลายไปวัดปริมาณแคลเซียม และทำการวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแคลเซียมของชิ้นเคลือบฟันหลังสัมผัสกับวัสดุบูรณะ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชิ้นเคลือบฟันที่สัมผัสกับ Fuji II LCR capsule, CompoglassR Flow, HeliomolarR และ Z 250R มีค่าเฉลี่ยแคลเซียม +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในสารละลายเท่ากับ 220.32 +- 2.51, 221.18 +- 2.55, 224.05 +- 2.36 และ 224.41 +- 4.34 ไมโครโมลต่อตารางเซนติเมตรตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยแคลเซียมของกลุ่มทดลองเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมด้วยสถิติแมนน์วิทนีย์ (Mann-Whitney U Test) พบว่ากลุ่มชิ้นเคลือบฟันที่สัมผัสกับ Fuji II LCR capsule และ CompoglassR Flow มีค่าเฉลี่ยแคลเซียม น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยปริมาณแคลเซียมระหว่างกลุ่มทดลองด้วยสถิติครูสคัลวัลลิส (Kruskal Wallis H Test) และแมนน์วิทนีย์พบว่า กลุ่มชิ้นเคลือบฟันที่สัมผัสกับ Fuji II LCR capsule และ CompoglassR Flow มีค่าเฉลี่ยแคลเซียมน้อยกว่ากลุ่มชิ้นเคลือบฟันที่สัมผัสกับ HeliomolarR อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้มากกว่าจะลดการสูญเสียแร่ธาตุของรอยโรคจดขาวที่สัมผัสกับวัสดุได้มากกว่า อย่างไรก็ตามต้องมีมีการศึกษาเพิ่มเติมทั้งในห้องปฏิบัติการและทางคลินิกต่อไป |
en |
dc.description.abstractalternative |
Compares the effect of three fluoride releasing materials on demineralization of adjacent proximal white spot lesions of permanent molars. The three experimental groups were resin-modified glass ionomer cement (Fuji II LCR capsule), polyacid-modified resin composite (CompoglassR Flow), fluoride containing resin composite (HeliomolarR and the control group using non-fluoride containing resin composite (Z 250R. Sixty specimens from permanent molars were sized into 2X4 square millimeters immersed in demineralizing solution for 96 hours to create subsurface white spot lesions. The enamel specimens were distributed into four groups by using the amount of calcium in demineralizing solution analyzed by atomic absorption spectrophotometer. Then the enamel specimens were mounted into direct proximal contact with each material and cycled in acid for 2.5 hours and in remineralizing solution for 21.5 hours, daily for 30 days. After pH-cycle, the enamel specimens were separated from materials and immersed in demineralizing solution for 96 hours. The amount of calcium from collected solution was analyzed. The result showed that calcium (mean +- S.D.) from demineralizing solution of Fuji II LCR capsule, CompoglassR Flow. HeliomolarR, and Z 250R were 220.32 +- 2.51, 221.18 +- 2.55, 224.05 +- 2.36 and 224.41 +- 4.34 micromole/cm[superscript 2], respectively. Using Mann-Whitney U Test to compare the average amount of calcium between each experimental group and the control group, the average amount of calcium of Fuji II LCR capsule and CompoglassR Flow had significantly less than Z 250R. Comparing average amount of calcium among the experimental groups by using Kruskal Wallis H Test and Mann-Whitney U Test, the average amount of calcium of Fuji II LCR capsule and CompoglassR Flow had significantly less than that of HeliomolarR. Therefore, the more releasing fluoride from material, the more effect on demineralization inhibition of adjacent white spot lesion. Nevertheless further laboratory and clinical study should be conducted |
en |
dc.format.extent |
1055660 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.598 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ฟันผุ |
en |
dc.subject |
ฟันผุ--การป้องกัน |
en |
dc.subject |
ฟลูออไรด์ |
en |
dc.subject |
รอยโรคจุดขาว |
en |
dc.subject |
วัสดุบูรณะ (ทันตกรรม) |
en |
dc.title |
ผลของวัสดุบูรณะชนิดปลดปล่อยฟลูออไรด์ที่มีต่อการสูญเสียแร่ธาตุของรอยโรคจุดขาวที่สัมผัสอยู่กับวัสดุ : การศึกษาในห้องปฏิบัติการ |
en |
dc.title.alternative |
Effect of fluoride releasing materials on demineralization of adjacent white spot lesion : in vitro study |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Twachara@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2002.598 |
|